กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6246
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสำเร็จหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffecting the success of model villges for sufficiency economy, mphoe pnthong, chon buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุษณากร ทาวะรมย์
สมใจ ตามแต่รัมย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
เศรษฐกิจพอเพียง -- ชลบุรี
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำ เร็จ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อําเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อําเภอพานทอง เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสำเร็จของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อําเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่จริงในหมู่บ้านเเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบอำเภอพานทองทั้ง 10 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 7,342 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า ระดับความสำเร็จหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับมาก ส่วนระดับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความความสำเร็จของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ พบว่า ปัจจัยด้านสังคม-วัฒนธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐปัจจัยด้านผู้นําชุมชน ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านภาคีเครือข่ายและปัจจัยด้านทุนธรรมชาติส่วนอันดับสุดท้าย คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจครัวเรือน และปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสำเร็จหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบ พบว่า ปัจจัยด้านการสนบั สนุนจากหน่วยงานภาครัฐ (Beta = 0.307**) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Beta = 0.221**) ปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติ (Beta = 0.216**) และด้านปัจจัยการมีส่วนร่วม (Beta = 0.194**) ส่งผลทางบวกต่อระดับความสำเร็จหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้รนแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ส่งผลสูงสุด และทั้ง 4 ปัจจัยนี้สามารถพยากรณ์ความสำเร็จของหมู่บ้าน ฯ ได้ร้อยละ 64 (R 2 = .640) ส่วนปัจจัยด้านผู้นำชุมชน ปัจจัยด้านภาคีเครือข่ายและปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรมชุมชนไม่ส่งผลต่อระดับความสำเร็จหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ฯ
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6246
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น