กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6205
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยของการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา Cuo |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of Cuo/ZnO/AI2O3 preprtions on products of Co2 Hydrogenetion |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สร้อยพัทธา สร้อยสุวรรณ ชินวร รตโนภาส มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การตกตะกอน (เคมี) การเร่งปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมี -- การทดลอง ตัวเร่งปฏิกิริยา ปฏิกิริยาคาร์บอนไดออกไซด์ไฮโดรจิเนชั่น มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานนิพนธ์นี้ทำการศึกษาปัจจัยของการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาคอปเปอร์ออกไซด์ซิงค์ออกไซด์อลูมิเนียมออกไซด์ (CuO/ZnO/Al ์ 2O3) ที่ส่งผลต่อการเกิดผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาคาร์บอนไดออกไซดไฮโดรจิเนชัน (CO2 Hydrogenation) ด้วยวิธีการตกตะกอนร่วม (Coprecipitation) ทำการเตรียมตามอัตราส่วน Cu/Zn/Al เท่ากับ 6 : 3 : 1 โดยใช้สารละลายแอมโมเนีย ยูเรียและโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นสารช่วยตกตะกอนที่เปลี่ยนแปลงสภาวะความเป็นกรด-เบส (pH) 7, 9, 11 ตามลำดับ นำไปทดสอบปฏิกิริยา คาร์บอนไดออกไซดไฮโดรจิเนชัน (CO2 Hydrogenation) ที่อุณหภูมิ 250°C ความดัน 1 บรรยากาศวัดองค์ ประกอบของแก๊สด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟฟี พบว่า ค่าความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาใกล้เคียงกัน อยู่ในช่วง 2-3% มีความสามารถในการเลือกเกิดผลิตภัณฑ์การเลือกเกิดผลิตภัณฑ์ของตัวเร่งปฏิกิริยา CuO/ZnO/Al2O3 ที่เตรียมด้วยสารละลายแอมโมเนียมและยูเรียในสัดส่วน มีเทน : อีเทน โดยประมาณร้อยละ 80 : 20 และตัวเร่งปฏิกิริยา CuO/ZnO/Al2O3 ที่เตรียมด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์จะมี ความสามารถในการเลือกเกิดผลิตภัณฑ์เป็นมีเทนเพียงอย่างเดียว คือ 100% สำหรับการวิเคราะห์คุณสมบัติการสลายตัวทางความร้อนของตัวเร่งปฏิกิริยา ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมงด้วยวิธีโปรแกรมอุณหภูมิการออกซิเดชัน (Temperature Programmed Oxidation) พบว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมด้วยสารละลายแอมโมเนียและยูเรียมีการลดลงของน้ำหนักในช่วงอุณหภูมิ 40-150 °C เนื่องจากน้ำได้สลายตัวออกจากตัวเร่งปฏิกิริยาในช่วงอุณหภูมิดังกล่าว แต่หลังจากช่วงอุณหภูมิ 180°C เป็นต้น จะมีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักสันนิษฐานว่าเนื่องจาก ตัวเร่งปฏิกิริยาเกิดการออกซิไดซ์ของคอปเปอร์บนตัวเร่งปฏิกิริยาไปเป็นคอปเปอร์ออกไซดในช่วงอุณหภูมิดังกล่าวและสำหรับตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์มีการลดลงของน้ำหนักในช่วงอุณหภูมิ 40-800°C ทั้งนี้อาจเกิดจากการสลายตัวของคาร์บอนหรือโค๊กบนตัวเร่งปฏิกิริยา |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6205 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น