กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6200
ชื่อเรื่อง: | การปรับปรุงคุณภาพการผลิตชุดเฟืองท้ายรถยนต์ โดยใช้แนวทาง ซิกซ์ ซิกม่า |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Qulity improvement of rer differentil mnufcturing by using six sigm concept |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จักรวาล คุณะดิลก ศุภชัย เจียบเกาะ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ) อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ -- การควบคุมคุณภาพ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมรถยนต์ -- การควบคุมคุณภาพ. มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ -- การควบคุมการผลิต |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาชุดเฟืองท้ายของรถยนต์มีเสียงดัง จากข้อมูลปัญหาคุณภาพในอดีต พบว่าปัญหาการร้องเรียนด้านเฟืองท้ายมีเสียงดังประมาณ 2.5 คันต่อเดือน หลักการดีเอ็มเอไอซี (DMAIC) ถูกนํามาประยุกต์สําหรับแก้ปัญหานี้ ประกอบด้วยการนิยามปัญหา (Define) การวัด (Measure) การวิเคราะห์ (Analyze) การปรับปรุง (Improve) และการควบคุม (Control) ขั้นตอน Define เป็นการกำหนดการเป้าหมายในการกำจัดปัญหาชุดเฟืองท้ายของรถยนต์มีเสียงดังเนื่องจากปริมาณนํ้ามันเฟืองท้ายตํ่ากว่าระดับมาตรฐาน ขั้นตอน Measure พบว่าระบบการวัดมีความเที่ยงตรงเท่ากับ 100% และระดับคุณภาพซิกมาด้านปริมาณนํ้ามันเฟืองท้ายที่ขนาดน๊อต M8 x 10 เท่ากับ 2.6σ คิดเป็นปริมาณของเสียการจากการผลิตประมาณ 8,239 PPM จากนั้นแผนผังแสดงเหตุและผล (Causes and Effect diagram) กับการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure mode and Effect analysis, FMEA) ถูกนํามาใช้ในขั้นตอน Analyze ทําให้สามารถหาสาเหตุสําคัญของปัญหาคุณภาพคือขั้ นตอนการสั่งเติมนํ้ามันเฟืองท้ายมีความซับซ้อน ทําให้พนักงานทํางานผิดพลาด ขั้นตอน Improve ในงานวิจัยนี้ได้ออกแบบระบบป้องกันความผิดพลาด (Poka-Yoke) ในการเติมนํ้ามันเติมน้ำมันเฟืองท้ายและขั้นตอน Control ได้ใช้อาศัย เอกสารแนะนําการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการทํางานใหม่ และแผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยและพิสัยในการเฝ้าติดตามกระบวนการ ผลการวิจัยพบว่า ไม่มีข้อร้องเรียนจากลูกค้าหลังปรับปรุงการผลิตเป็นเวลาสามเดือนต่อเนื่องระดับคุณภาพซิกมาด้านปริมาณนํ้ามันเฟืองท้ายที่ขนาดน๊อต M8 x 10 หลังจากปรับปรุงการผลิต 3 เดือนสูงขึ้นเป็ น 3.9σ คิดเป็นปริมาณของเสียการจากการผลิตลดลงเหลือประมาณ 80 PPM |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6200 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.86 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น