กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6195
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการส่งมอบโครงการก่อสร้างประเภทงานทาง กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of problems nd solution guidnces in hndover phse for rod construction mngement: cse study of project of chonburi provincil dministrtive orgniztion
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อานนท์ วงษ์แก้ว
กฤษณะ แจ้งเจริญ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
การก่อสร้าง
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานนิพนธ์นี้ศึกษาประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงส่งมอบงานก่อสร้างประเภทงานทาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการส่งมอบงานก่อสร้างประเภทงานทาง เพื่อวิเคราะห์สาเหตุในแต่ละปัญหา พร้อมนําเสนอแนวทางปฏิบัติงานของผู้บริหารงานก่อสร้างและผู้ปฏิบัติงานก่อสร้างที่เหมาะสมในการป้องกyนไม่ให้เกิดปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดในช่วงของการส่งมอบงาน โครงการประเภทงานทางขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีโดยการใช้แบบสอบถามในการสัมภาษณ์ บุคลากร ฝ่ายผู้รับจ้าง จํานวน 15 ราย และบุคลากรฝ่ายเจ้าของงานในการวิจัยนี้สัมภาษณ์ผู้บริหารงานก่อสร้าง จํานวน 15 ราย ซึ่งแบ่งปัญหาออกเป็นลําดับการเกิดในแต่ละช่วงได้ 3 ช่วง คือ ช่วงเวลาก่อนการส่งมอบงานก่อสร้าง ช่วงส่งมอบงานก่อสร้าง และช่วงหลังส่งมอบงานก่อสร้าง ทั้งในมุมมองของผู้รับจ้างและฝ่ายเจ้าของงาน และนําข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถาม มาวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS for Windows เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ผลแบบสอบถาม ผลจากการศึกษา พบว่า การประเมินต้นเหตุของ ปัญหา ประกอบด้วย 5 ประเด็น คือ 1) ปัญหาการปิดบัง/ ซ่อนงานในการตรวจสอบ 2) ปัญหาด้านงาน เอกสาร 3) ปัญหาด้านการจ่ายเงินงวดสุดท้าย 4) ปัญหาการรับประกันผลงาน และ 5) ปัญหาความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นระหวางการทํางาน ผู้บริหารงานก่อสร้าง ส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นปัญหาในระดับปานกลางในขณะที่ผู้รับจ้าง เห็นว่า ประเด็นดังกล่าวข้างต้น เกิดปัญหาขึ้นในระดับค่อนข้างบ่อย อย่างไรก็ดีจากวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหา พบว่า ผู้บริหารงานก่อสร้างมีส่วนช่วยในการจัดการ ไกล่เกลี่ย เจรจา ให้เกิดความยุติธรรมขึ้นกับคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย (เจ้าของงานและผู้รับจ้าง) และมีบทบาทที่สําคัญในการช่วย จัดแผนควบคุมการทํางาน และคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในโครงการที่ได้รับผิดชอบดูแลอยู่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและรองรับกับการดําเนินงานของทุกฝ่ายในโครงการนอกเหนือจากการประชุมการตกลง และการวางแผนงานร่วมกันตามปกติของการดําเนินการก่อสร้าง ความเอาใจใส่ ขยันหมั่นตรวจตรางาน เร่งรัด ติดตาม การให้คําปรึกษาแนะนําการแจ้งเมื่อพบสิ่งที่ไม่ถูกต้องในโครงการเพื่อให้แก้ไข้ ได้ทันเวลา และงานมีคุณภาพงานที่ดีเป็นไปตามมาตรฐาน
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (วศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6195
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf16.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น