กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/615
ชื่อเรื่อง: สหสัมพันธ์ระหว่างสมบัติทางเคมีกายภาพ และสมบัติการใช้งานของไคโตซานที่ผลิตได้จากเปลือกกุ้ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Correlation between physicochemical and functional properties of chitosan produced from shrimp shell
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เยาวภา ไหวพริบ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
เปลือกกุ้ง - - วิจัย
ไคโตแซน - - วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ศึกษาผลของภาวะการกำจัดหมู่อะซีติลต่อสมบัติทางเคมีกายภาพ (ระดับการกำจัดหมู่อะซีติล ความหนืด น้ำหนักโมเลกุล ความหนาแน่น ความเป็นกรดด่าง ปริมาณเถ้า และปริมาณไนโตรเจน) และสมบัติ การใช้งาน (ความสามารถการจับสีย้อม ความสามาในการการจับไขมัน ความสามารถการจับน้ำ และความสามารถการป็นอิมัลซไฟเออร์) ของไคโตซาน โดยนำไคตินจากเปลือกกุ้งมากำจัดหมู่อะซีติลด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 50 โดยนำหนัก ภายใต้ภาวะต่างๆ ได้แก่ อุณหภูมิ 110 120 และ 130 องศาเซลเซียส จำนวนรอบการสกัด 1 2 และ 3 รอบ ใช้เวลา 1 2 และ 3 ชั่วโมง พบว่าเมื่อเพิ่มอุณหภูมิกับจำนวนรอบการสกัด จำนวนรอบการสกัดกับเวลาที่ใชในการสกัด และอุณหภูมิกับเวลาที่ใช้ในการสกัด ส่งผลให้ระดับการกำจัดหมู่อะซิติล และปริมาณเถ้าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p,0.05) นอกจากนี้พบว่าเมื่อเพิมอุณหภูมิ จำนวนรอบการสกัด และเวลาที่ใช้ในการสกัด ส่งผลให้ความหนาแน่น ความเป็นกรดด่าง และปริมาณไนโตรเจนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในขณที่ความหนืด น้ำหนักโมเลกุล ความสามารถการจับสี ไขมัน และน้ำ รวมทั้งความสามารถเป็นอิมัลซิไฟเออร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ในกลุ่มสมบัติทางเคมีกายภาพของไคโตซาน พบว่าระดับการกำจัดหมู่อะซีติล ความหนาแน่น ความเป็นกรดด่าง ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า ปริมาณไนโตรเจน มีความสัมพันธ์กับความหนืดและน้ำหนักโมเลกุลในเชิงลบอย่างมีในสำคัญ (p<0.05) ส่วนผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ในกลุ่มสมบัติการใช้งานของไคโตซาน พบว่าทุกพารามิเตอร์มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างสมบัติทางเคมีกายภาพ และสมบัติการใช้งานของไคโตซาน พบว่าความสามารถการจับสีย้อม ไขมัน และน้ำ รวมทั้งความสามารถการเป็นอิมัลซิไฟเออร์มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.01) กับความหนืด (r = 0.559, 0.676, 0.853, 0.856) และน้ำหนักโมเลกุล (r = 0.653, 0.774, 0.938, 0.825) ในขณะที่มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.01) กับระดับการกำจัดหมู่อะซีติล (r = -0.699, -0.849, -0.850, -0.651) ความหนาแน่น (r = -0.713, -0.713, -0.906, -0.694) ปริมาณเถ้า (r = -0.550, -0.535, -0.761, -0.799) และปริมาณไนโตรเจน (r = -0.605, -0.711, -0.620, -0.504)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/615
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น