กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/615
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | เยาวภา ไหวพริบ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:52:57Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:52:57Z | |
dc.date.issued | 2548 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/615 | |
dc.description.abstract | ศึกษาผลของภาวะการกำจัดหมู่อะซีติลต่อสมบัติทางเคมีกายภาพ (ระดับการกำจัดหมู่อะซีติล ความหนืด น้ำหนักโมเลกุล ความหนาแน่น ความเป็นกรดด่าง ปริมาณเถ้า และปริมาณไนโตรเจน) และสมบัติ การใช้งาน (ความสามารถการจับสีย้อม ความสามาในการการจับไขมัน ความสามารถการจับน้ำ และความสามารถการป็นอิมัลซไฟเออร์) ของไคโตซาน โดยนำไคตินจากเปลือกกุ้งมากำจัดหมู่อะซีติลด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 50 โดยนำหนัก ภายใต้ภาวะต่างๆ ได้แก่ อุณหภูมิ 110 120 และ 130 องศาเซลเซียส จำนวนรอบการสกัด 1 2 และ 3 รอบ ใช้เวลา 1 2 และ 3 ชั่วโมง พบว่าเมื่อเพิ่มอุณหภูมิกับจำนวนรอบการสกัด จำนวนรอบการสกัดกับเวลาที่ใชในการสกัด และอุณหภูมิกับเวลาที่ใช้ในการสกัด ส่งผลให้ระดับการกำจัดหมู่อะซิติล และปริมาณเถ้าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p,0.05) นอกจากนี้พบว่าเมื่อเพิมอุณหภูมิ จำนวนรอบการสกัด และเวลาที่ใช้ในการสกัด ส่งผลให้ความหนาแน่น ความเป็นกรดด่าง และปริมาณไนโตรเจนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในขณที่ความหนืด น้ำหนักโมเลกุล ความสามารถการจับสี ไขมัน และน้ำ รวมทั้งความสามารถเป็นอิมัลซิไฟเออร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ในกลุ่มสมบัติทางเคมีกายภาพของไคโตซาน พบว่าระดับการกำจัดหมู่อะซีติล ความหนาแน่น ความเป็นกรดด่าง ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า ปริมาณไนโตรเจน มีความสัมพันธ์กับความหนืดและน้ำหนักโมเลกุลในเชิงลบอย่างมีในสำคัญ (p<0.05) ส่วนผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ในกลุ่มสมบัติการใช้งานของไคโตซาน พบว่าทุกพารามิเตอร์มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างสมบัติทางเคมีกายภาพ และสมบัติการใช้งานของไคโตซาน พบว่าความสามารถการจับสีย้อม ไขมัน และน้ำ รวมทั้งความสามารถการเป็นอิมัลซิไฟเออร์มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.01) กับความหนืด (r = 0.559, 0.676, 0.853, 0.856) และน้ำหนักโมเลกุล (r = 0.653, 0.774, 0.938, 0.825) ในขณะที่มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.01) กับระดับการกำจัดหมู่อะซีติล (r = -0.699, -0.849, -0.850, -0.651) ความหนาแน่น (r = -0.713, -0.713, -0.906, -0.694) ปริมาณเถ้า (r = -0.550, -0.535, -0.761, -0.799) และปริมาณไนโตรเจน (r = -0.605, -0.711, -0.620, -0.504) | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณแผ่นดินประจำปีงบประมาณ 2547 มหาวิทยาลัยบูรพา | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.subject | เปลือกกุ้ง - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | ไคโตแซน - - วิจัย | th_TH |
dc.title | สหสัมพันธ์ระหว่างสมบัติทางเคมีกายภาพ และสมบัติการใช้งานของไคโตซานที่ผลิตได้จากเปลือกกุ้ง | th_TH |
dc.title.alternative | Correlation between physicochemical and functional properties of chitosan produced from shrimp shell | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2548 | |
dc.description.abstractalternative | The effects of deacetylation conditions on physiochemical properties (deacetylation degree, viscosity, molecular weight, bulk density, pH, ash contents, and nitrogen contents) and functional properties (dye, fat, and water binding capacities, and emulsifying capacity) of chitosan products were investigated. At first, chitin produed from shrimp shell was deacetylated with 50% w/wodium hydroxide at different combination of deacetylation conditions; that is, 110 'C, 120 'C, and 130 'C with the number of repeated batch of 1, 2, and 3 hours respectively in order to yoeld chitosan batch and time of reaction, and higher deacetylation temperature and time could result in an increase of deacetylation degree and ash contents with statistical significance at the 0.05 level. Moreover, higher deacetylation temperature, number of repeated batch, and time could result in an increase of bulk density, pH, and nitrogen contents with statistical significance at the 0.05 level; however, it could result in a decrease of viscosity, molecular weight, dye binding, fat binding, water binding, and emulsifying cappaccities with statistical significance at the 0.05 level. Correlation analysis among physicochemical properties demonstrated that deacetylation degree, bulk density, pH, ash, moisture, and nitrogen contents negatively correlated with viscosity, and molecular weight with statistical significance at the 0.05 level. correlation analysis among functional properties showed significantly positive for all parameters with ststistical significance at the 0.05 level. Correlation analysis between physicochemical, and function properties demonstrated that dye, fat, and water binding, and emulsifying capacities were significantly positive with viscosity (r = 0.559, 0.676, 0.853, 0.856) and molecular weight (r = 0.653, 0.774, 0.938, 0.825) with statistical significance at the 0.01 level; however, they wer significantly negative with deacetylation degree (r = -0.699, -0.849, -0.850, -0.651), bulk density (r = -0.964, -0.930, -0.602), pH (r = -0.713, -0.713, -0.906, -0.694), ash contents (r = -0.550, -0.535, -0.761, -0.799), and nitrogen contents (r = -0.605, -0.711, -0.620, -0.504) with statistical significance at the 0.01 level. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น