กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6135
ชื่อเรื่อง: | องค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพจากเหง้าของเนระพูสีไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Chemicl constituents nd biologicl ctivities of Tcc chntrieri rhizom |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จเร จรัสจรูญพงศ์ อนันต์ อธิพรชัย สมฤทัย พาที มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ดีปลาช่อน ว่าน ว่านพังพอน เนระพูสีไทย มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเคมีศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารพฤกษเคมี ปริมาณสารประกอบฟี นอลิกรวม สารประกอบฟลาโวนอยด์รวม ฤทธิ์ทางชีวภาพ และองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดหยาบใน ตัวทำละลายเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน เอทิลอะซีเตต เมทานอล และน้ำมันหอมระเหยจากการกลั่น ด้วยน้ำจากส่วนเหง้าของเนระพูสีไทย (Tacca chantrieri) ผลการศึกษาสารพฤกษเคมีของสารสกัด หยาบด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ พบสารพฤกษเคมี จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ คูมาริน ซาโปนิน เทอร์ปีนอยด์ สเตียรอยด์ และคาร์ดิแอคไกลโคไซด์ การหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และปริมาณฟลาโวนอยด์รวมของสารสกัดหยาบด้วยเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน เอทิลอะซีเตต และ เมทานอล และน้ำมันหอมระเหย ด้วยวิธี Folin-Ciocaltue โดยใช้กรดแกลลิก (gallic acid) เป็นสาร มาตรฐาน และวิธี aluminium trichloride (AlCl3) colorimetric โดยใช้เคอร์ซิติน (Qurecetin) เป็น สารมาตรฐาน ตามลำดับ พบว่าสารสกัดหยาบด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตตมีปริมาณฟีนอลิกรวม สูงที่สุด (5.20±0.02 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อน้ำหนักสารสกัดแห้ง 1 กรัม) ขณะที่สาร สกัดหยาบด้วยตัวทำละลายเมทานอลมีปริมาณฟลาโวนอยด์รวมสูงที่สุด (33.64±1.27 มิลลิกรัม สมมูลของเคอร์ซิตินต่อน้ำหนักสารสกัดแห้ง 1 กรัม) การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธี DPPH free radical scavenging พบว่าส่วนสกัดหยาบด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตตแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูล อิสระสูงที่สุด ที่ความเข้มข้น 650 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร (58.70±0.01%) และจากการศึกษาฤทธิ์ ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสของส่วนสกัดหยาบเนระพูสีไทยด้วยตัวทำละลายชนิด ต่างๆ โดยใช้ L-DOPA เป็นซับสเตรต พบว่าที่ความเข้มข้น 1,000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ทุกส่วน สกัดหยาบไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ของส่วนสกัดหยาบเนระพูสีไทยด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ พบ กรดไมริสติกในสารสกัดหยาบ เฮกเซน ของผสมระหว่าง เบต้า-ซิโตสเตอรอล และ สติกมาสเตอรอล พบในสารสกัดหยาบ ไดคลอโรมีเทน โดยพิสูจน์โครงสร้างสารที่แยกได้ด้วยเทคนิคสเปกโทรสโคปี |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6135 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
57920071.pdf | 2.89 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น