กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6129
ชื่อเรื่อง: | ผลของการฝึกโปรแกรมความเร็ว ความคล่องแคล่วและความว่องไว (เอสเอคิว) แบบประยุกต์ที่มีต่อความเร็วในการวิ่งเบสของนักกีฬาซอฟท์บอล มหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of modified speed gility nd quickness (SAQ) trining progrm on bse running speed of college softbll plyers of Burph university |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง กวีญา สินธารา นิกร สนธิ์จันทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
คำสำคัญ: | การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ ซอฟท์บอล การวิ่ง -- การทดสอบ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกโปรแกรมความเร็ว ความคล่องแคล่วและความว่องไว (เอสเอคิว) แบบประยุกต์ที่มีต่อความเร็วในการวิ่งเบส ความคล่องแคล่วและกำลังกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาซอฟท์บอลมหาวิทยาลัยบูรพา ประชากรที่ศึกษาเป็นนักกีฬาซอฟท์บอลมหาวิทยาลัยบูรพา ทีมชายและทีมหญิง จำนวน 21 คน ทำการทดสอบ ความเร็วในการวิ่งเบส ความคล่องแคล่วและกำลังกล้ามเนื้อขาก่อนเข้ารับโปรแกรม หลังเข้ารับโปรแกรมสัปดาห์ที่ 6 และสัปดาห์ที่ 6 โดยทดสอบความเร็วในการวิ่งเบสโดยให้กลุ่มตัวอย่างวิ่งจากโฮมเพลตไปยังเบสที่ 2 (ผ่านเบสที่ 1) จับเวลาด้วยชุดวัดความเร็วอัจฉริยะ (Smart speed) ทดสอบความคล่องแคล่วด้วยแบบทดสอบ Illinois agility runtest และ ทดสอบกำลังของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและต้นขาด้านหลังโดยเครื่อง Isokinetic (Cybex, humac norm) กลุ่ม ตัวอย่างเข้ารับโปรแกรมเอสเอคิวแบบประยุกต์หลังจากฝึกตามโปรแกรมปกติของทีมเสร็จสิ้น โปรแกรมนี้ใช้เวลา 30-45 นาที 3 วันต่อสัปดาห์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการวิ่งเบส เวลาที่ใช้ในการทดสอบความคล่องแคล่วและกำลังของกล้ามเนื้อขา โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ Repeated-measure ANOVA ผลการวิจัยพบว่าหลังได้รับโปรแกรมเอสเอคิวแบบประยุกต์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เวลาที่ ใช้ทดสอบการวิ่งเบสและเวลาที่ใช้ทดสอบความคล่องแคล่วลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และกำลังของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 สรุปผลการวิจัยพบว่าการได้รับโปรแกรมเอสเอคิวแบบประยุกต์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่งผลให้นักกีฬาซอฟท์บอลมหาวิทยาลัยบูรพามีความเร็วการวิ่งเบส ความคล่องแคล่วและกำลังกล้ามเนื้อขาดีขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6129 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
55921335.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น