กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6129
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง | |
dc.contributor.advisor | กวีญา สินธารา | |
dc.contributor.author | นิกร สนธิ์จันทร์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T02:25:49Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T02:25:49Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6129 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกโปรแกรมความเร็ว ความคล่องแคล่วและความว่องไว (เอสเอคิว) แบบประยุกต์ที่มีต่อความเร็วในการวิ่งเบส ความคล่องแคล่วและกำลังกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาซอฟท์บอลมหาวิทยาลัยบูรพา ประชากรที่ศึกษาเป็นนักกีฬาซอฟท์บอลมหาวิทยาลัยบูรพา ทีมชายและทีมหญิง จำนวน 21 คน ทำการทดสอบ ความเร็วในการวิ่งเบส ความคล่องแคล่วและกำลังกล้ามเนื้อขาก่อนเข้ารับโปรแกรม หลังเข้ารับโปรแกรมสัปดาห์ที่ 6 และสัปดาห์ที่ 6 โดยทดสอบความเร็วในการวิ่งเบสโดยให้กลุ่มตัวอย่างวิ่งจากโฮมเพลตไปยังเบสที่ 2 (ผ่านเบสที่ 1) จับเวลาด้วยชุดวัดความเร็วอัจฉริยะ (Smart speed) ทดสอบความคล่องแคล่วด้วยแบบทดสอบ Illinois agility runtest และ ทดสอบกำลังของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและต้นขาด้านหลังโดยเครื่อง Isokinetic (Cybex, humac norm) กลุ่ม ตัวอย่างเข้ารับโปรแกรมเอสเอคิวแบบประยุกต์หลังจากฝึกตามโปรแกรมปกติของทีมเสร็จสิ้น โปรแกรมนี้ใช้เวลา 30-45 นาที 3 วันต่อสัปดาห์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการวิ่งเบส เวลาที่ใช้ในการทดสอบความคล่องแคล่วและกำลังของกล้ามเนื้อขา โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ Repeated-measure ANOVA ผลการวิจัยพบว่าหลังได้รับโปรแกรมเอสเอคิวแบบประยุกต์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เวลาที่ ใช้ทดสอบการวิ่งเบสและเวลาที่ใช้ทดสอบความคล่องแคล่วลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และกำลังของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 สรุปผลการวิจัยพบว่าการได้รับโปรแกรมเอสเอคิวแบบประยุกต์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่งผลให้นักกีฬาซอฟท์บอลมหาวิทยาลัยบูรพามีความเร็วการวิ่งเบส ความคล่องแคล่วและกำลังกล้ามเนื้อขาดีขึ้น | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ | |
dc.subject | ซอฟท์บอล | |
dc.subject | การวิ่ง -- การทดสอบ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา | |
dc.title | ผลของการฝึกโปรแกรมความเร็ว ความคล่องแคล่วและความว่องไว (เอสเอคิว) แบบประยุกต์ที่มีต่อความเร็วในการวิ่งเบสของนักกีฬาซอฟท์บอล มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.title.alternative | Effects of modified speed gility nd quickness (SAQ) trining progrm on bse running speed of college softbll plyers of Burph university | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research was to study the effects of the modified Speed Agility and Quickness (SAQ) training program on bases running speed, agility and leg power of college softball players. Twenty one college softball players of Burapha University participated in the study. Tests of base running speed, agility and leg power were performed before, during (6 th week), and after training program. Base running speed test using Smart Speed recorded the time of running from home plate to the 2nd base (passing the 1st base). The Illinois Agility Run Test was used for agility test. Isokinetic machine (Cybex, Humac Norm) was used to measure leg power. The modified SAQ training program was used after daily training program for 30-45 minutes, 3 days a week for 8 weeks. Data were collected and compared using Repeatedmeasure ANOVA. Results showed that the modified SAQ training program significantly decreased times of base running speed test (p<.05). Times of agility test was also significantly decreased (p<.05), and leg power were improved (p<.05). It was concluded that the modified SAQ training program for 8 weeks could improve the base running speed, agility and leg power of college softball players. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
55921335.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น