กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/572
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชุมชนเมือง บริเวณนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และมาบตาพุด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of change in Urban communities of Laem Chabang and map Ta Put industrial estates
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เรวัต แสงสุริยงค์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด - - ภาวะสังคม
นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง - - ชลบุรี
สังคมวิทยาอุตสาหกรรม - - ชลบุรี
สังคมวิทยาอุตสาหกรรม - - ระยอง
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2542
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาว่า 1) ความเป็นเมืองในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีความสัมพันธ์กับความเป็นอุตสาหกรรมของนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและมาบตาพุดหรือไม่ 2) ความเป็นเมืองที่เกิดขึ้นในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองอย่างไร โดยวิเคราะห์จากข้อมูลที่เป็นสถิติของหน่วยงานราชการในพื้นที่ และข้อมูลเชิงพื้นที่จากภาพถ่ายดาวเทียม ผลการศึกษาพบว่า 1. ความเป็นเมืองในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และอำภเอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในทิศทางเดียวกับความป็นอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและมาบตาพุด 2. ความเป็นเมืองในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในทิศทางเดียวกับการใช้ที่ดินด้านที่อยู่อาศัย ที่ดินว่างเปล่า และ แหล่งน้ำ 3. ความเป็นเมืองในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และอำเภอเมืองระยอง มีการเปลี่ยนแปลงเชิงลบในทิศทางตรงข้ามกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม และป่าไม้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดนโยบายในการพัฒนา ดังนี้ 1) ด้านอุตสาหกรรมควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบที่สอดคล้องกับผลผลิตของท้องถิ่นที่เป็นการเกษตรกรรมและการประมงเพื่อส่งเสริมการสร้างงานของท้องถิ่นให้ครบวงจร 2) ด้านที่อยู่อาศัย ควรพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ต่ำและปานกลาง เพื่อป้องกันการเกิดที่อยู่อาศัยแบบชุมชนแออัด 3) ด้านการใช้ที่ดิน ควรมีการวางแผนการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นมากที่สุด โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำ และป่าไม้ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ มีความสัมพันธ์เชิงลูกโซ่เกี่ยวกันกับคุณภาพชีวิตของประชากรในท้องถิ่น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/572
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_170.pdf89.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น