กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/549
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาศิลปะการสักของไทยและญี่ปุ่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A study of Thai and Japanese tattooing |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นันท์ชญา มหาขันธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การสัก - - ญี่ปุ่น - - การศึกษา การสัก - - ไทย - - การศึกษา การสัก ชาติพันธุ์วิทยา ไทย - - ความเป็นอยู่และประเพณี. สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2539 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การสักเป็นเรื่องที่มีความลึกลับและเป็นที่สนใจของคนทั่วไปมาเป็นเวลาช้านาน ทั้งนี้มิใช่พียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้นหากเป็นไปเช่นนี้ทั่วโลก จุดมุ่งหมายวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาถึงการศึกของไทยและญี่ปุ่น ทั้งในด้านประวัติความเป็นมา ขนบประเพณี ความเชื่อ รูปแบบของการสัก การปฎิบัติในการสักรวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการสัก ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมมาจากเอกสารทั้งของไทยและต่างประเทศ รูปรอยของสัก ตลอดจนการสำรวจ การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อและค่านิยมในการสักของไทยมีความแตกต่างไปจากการสักของประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความแตกต่างไปจากการสักประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทยการสักกระทำต่อเนื่องจากความเชื่อถือในเรื่องโชครางของขลัง เช่น อำนาจลึกลับมหัศจรรย์ต่าง ๆ ความขลัง โชคลาภ เมตตามหานิยม ความมีอายุยืน ความมีเสน่ห์ ความแคล้วคลาดจากภยันตราย ความมีหนังเหนี่ยวที่ศาสตราวุธไม่สามารถทำอันตรายได้ เป็นต้น รูปรอยของการสักก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งกระทำเพื่อความขลังเช่นกันรูปรอยสักเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหัวใจของคาถาที่นำมาเรียงร้อยเข้ากันเป็นรูปแบบต่าง ๆ ที่เรียกว่า ยันต์ หรือ รูปศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ ที่ใช้ในการสัก เพื่อความขลัง รอยสักประเภทอื่น ได้แก่ เทวดา สัตว์และพืช ช่างสักบางคนอาจผสมน้ำมันหรือสมุนไพรเข้าไปในหมึก เพื่อให้รอยสักมีความครั้งยิ่งขึ้นด้วยการสักของญี่ปุ่น คำว่า การสักเป็นศิลปะที่เรียกว่า อิเรซึมิ โดยศัพท์หมายความว่า การสอดหมึกหรือถ้าเป็นคำที่เก่ากว่านั้น ก็คือคำว่า โฮริโมะโน หมายถึงสิ่งที่ถูกจำกัด ได้แก่ ผิวหนังของมนุษย์ที่ถูกจำหลักรูปรอยลงไป ในญี่ปุ่นการสักเป็นที่รู้จักกันมาตั้งสมัยโบราณแล้ว หากมิใช่การสักในรูปแบบศิลปะ แต่เป็นการจาลึกโทษผู้กระทำความผิด ด้วยการสักบนใบหน้า ความมุ่มหมายในการสักของบุคคล มีแตกต่างกันไป เช่น ความมีโชคลาภ เพื่อความปลอดจากสิ่งชั่วร้ายและความเจ็บไข้ได้ด้วยเพื่อเป็นการกำหนดตำแหน่งหรือสถานะภาพ และเพื่อนเป็นการประดับตกแต่งร่างกายตามความพอใจ หรือกระทำเผเพื่อกระประชดตัวเอง ในบรรดารอยสักทั้งชนิดเต็มตัวและชนิดครึ่งตัวของญี่ปุ่น รูปรอยที่สักส่วนใหญ่ จะเป็นพวกสัตว์ในเทวนิยาย ตัวเองในนวนิยาย เทพเจ้า ดอกไม้ รวมทั้งรูปสิ่งของต่าง ๆ เครื่องมือที่ใช้สัก ช่างสักญี่ปุ่นใช้เข็มสักแบบดั่งเดิมมาเป็นเวลาช้านาน ปัจจุบันใช้เครื่องสักไฟฟ้า การสักแบบญี่ปุ่น จัดว่าเป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนที่ใด และเป็นที่รู้จักดีในหมู่ผู้นิยมการสักทั่วโลก |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/549 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น