กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/54
ชื่อเรื่อง: การประเมินระยะยาวเจตคติต่อเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ในการศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Longitudianal assessment of new information technology attitudes in education.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นัญฑา ผลิตวานนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาการศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษา - - การประเมิน
เทคโนโลยีสารสนเทศ - - การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเจตคติต่อคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยสำรวจเจตคติของนักเรียน ครู และนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือครูที่สอนในระดับมัธยมศึกษาและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จาก 3 โรงเรียนภาคตะวันออกในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดหญิง โรงเรียนประจำจังหวัดชาย และโรงเรียนสหศึกษา แบบสอบถามที่ได้รับจากครู 3 โรงเรียน 270 ฉบับ นักเรียน 1,768 ฉบับ สำหรับกลุ่มอาจารย์คณะครุศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์จาก 4 มหาวิทยาลัย เก็บแบบสอบถามได้ 177 ฉบับแบบสอบถามที่ใช้ในการสำรวจนี้ แบบสอบถาม 3 ชุดคือ แบบสอบถามเจตคติต่อคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เจตคติของครู นักเรียน และอาจารย์ ซึ่งแบบสอบถามเรียบเรียงจากแบบสอบถามของคริสเตนเซ่นและคาเนเซค มหาวิทยาลัยนอร์ทเท็กซัส รัฐเท็กซัส สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA)จากการสำรวจเจตคติต่อคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียน 9 ด้าน ได้ดังนี้ ด้านความสำคัญ ( x = 3.87) ด้านความเพลิดเพลิน (x = 3.91) ด้านการเสริมแรง (X=3.61) ด้านนิสัยการเรียน (X=3.75) ด้านความเห็นอกเห็นใจ (X=3.87) ด้านความคิดสร้างสรรค์ (X=3.59) ด้านโรงเรียน (X=3.50) ด้านความวิตกกังวล (X=3.69) ด้านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (X=3.55) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 ในด้านความสำคัญด้านพัฒนาการ ด้านพัฒนาการ ด้านนิสัยในการเรียน ด้านความเห็นอกเห็นใจ และพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 ด้านความเพลิดเพลินและด้านความคิดสร้างสรรค์ เมื่อเปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนระหว่างเพศ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 ด้านความสำคัญ ด้านนิสัยการเรียน ด้านความเห็นอกเห็นใจ ด้านโรงเรียน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ด้านพัฒนาการ เจตคติทุกด้านนักเรียนหญิงสูงกว่านักเรียนชาย การสำรวจเจตคติต่อคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของครู 7 ด้าน ได้ดังนี้ ด้านความสำคัญ (X=3.78) ด้านความเพลิดเพลิน (X=3.42) ด้านความวิตกกังวล (X=3.42) ด้านความกระตือรือร้น (X=3.68) ด้านผลผลิตในห้องเรียน (X=3.93) ด้านผลผลิต (X=3.74) ด้านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (X=3.40) เมื่อเปรียบเทียบเจตคติของครูระหว่างโรงเรียน ไม่พบความแตกต่างที่นัยสำคัญทางสถิติในแต่ละด้าน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศพบความแตกต่างที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านความสำคัญ และเมื่อเปรียบเทียบตามระดับอายุพบความแตกต่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านความเพลิดเพลิน ด้านความวิตกกังวล และด้านความกระตือรือร้น และจากการสำรวจเจตคติต่อคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของเจตคติของอาจารย์ 5 ด้าน ได้ดังนี้ ด้านความกระตือรือร้น/ความเพลิดเพลิน (X=3.98) ด้านความวิตกกังวล (X=4.03) ด้านการหลีกเลี่ยง (X=3.75) ด้านการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในห้องเรียน (X=3.55) ด้านการเพิ่มประสิทธิผลในห้องเรียน (X=3.85) เมื่อเปรียบเทียบเจตคติของอาจารย์ระหว่างมหาวิทยาลัย ระหว่างเพศ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในแต่ละด้านพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ด้านความวิตกกังวลเมื่อเปรียบเทียบตามวุฒิการศึกษา และพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ด้านความกระตือรือร้น/ความเพลิดเพลิน และด้านความวิตกกังวล เมื่อเปรียบเทียบตามระดับอายุ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/54
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2545_017.pdf8.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น