กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/506
ชื่อเรื่อง: วิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Health-promoting lifestyle among high school students in Eastern region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุวดี ลีลัคนาวีระ
พรนภา หอมสินธุ์
รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การส่งเสริมสุขภาพ - - ไทย (ภาคตะวันออก)
นักเรียน - - ไทย (ภาคตะวันออก)
นักเรียนมัธยมศึกษา - - การดำเนินชีวิต
นักเรียนมัธยมศึกษา - - สุขภาพและอนามัย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิถีชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยดัดแปลงจากแบบประเมินแบบแผนการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพของ เพนเดอร์ (Pender, 1996) ทดสอบความเชื่อมั่นกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นในระดับสูง ทุกชุด (α อยู่ระหว่าง .8607 - .9556) เก็บข้อมูลนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1244 คน ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพในระดับปานกลาง คิดร้อยละ 57.8 รองลงมามีวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี ร้อยละ 42.0 และมีร้อยละ 0.2 มีวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพในระดับไม่ดี ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ สถานการณ์ที่แวดล้อม การรับรู้อุปสรรคของการมีวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพ อิทธิพลระหว่างบุคคลและ การรับรู้ประโยชน์ของวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพ (beta = 0.321, p <.001; beta = -0.217, p <.001; beta = 0.138, p <.001, beta = 0.133, p <.001 ตามลำดับ) และสามารถร่วมกันอธิบายวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา ได้ร้อยละ 32.1 (R2 = .321, p <.001) โดยมีสมการทำนายดังนี้ วิถีส่งเสริมสุขภาพ = 2.063 + 0.332 อิทธิพลของสถานการณ์ที่แวดล้อม -0.19 การรับรู้ อุปสรรค + 0.107 อิทธิพลระหว่างบุคคล + 0.172 การรับรู้ประโยชน์ การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น โดยการเพิ่มปัจจัยด้านอิทธิพลของสถานการณ์แวดล้อม ที่จะสนับสนุนให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจและสะดวกที่จะปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ ส่งเสริมให้บุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับนักเรียน มีวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพที่เป็นตัวอย่างแก่นักเรียนให้มากขึ้น มีการรณรงค์เผลแพร่ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้การรับรู้ประโยชน์ของการมีวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพแก่นักเรียนมัธยมศึกษาให้มากขึ้น รวมถึงผู้ปกครอง ครู และผู้นำชุมชน ก็ควรกระตุ้นให้ความสำคัญเช่นกัน เพื่อจะได้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนสามารถเกิดวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพได้อย่างสะดวก ง่าย และปลอดภัย ซึ่งจะเป็นการลดอุปสรรคต่อการเกิดวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนและทำให้เกิดวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพแบบยั่งยืนต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/506
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_253.pdf5.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น