กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4596
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorนุศรา เนียมสูงเนิน-
dc.contributor.authorธงชัย ศรีวิริยรัตน์-
dc.date.accessioned2022-07-31T03:31:11Z-
dc.date.available2022-07-31T03:31:11Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.issn2351-0781-
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4596-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาเก็บกักทางชลศาสตร์ที่มีต่อเสถียรภาพของระบบบำบัดน้ำเสียแบบ Integrated Fixed Film Activated Sludge (IFAS) โดยใช้ระบบบำบัดน้ำเสียจำลองแบบ Modified Ludzack-Ettinger (MLE) จำนวน 2 ระบบ คือ ระบบที่มีตัวกลาง Bioweb ในถังเติมอากาศร้อยละ 34.5 โดยปริมาตร เรียกว่า ระบบ IFAS และระบบที่ไม่มีการติดตั้งตัวกลาง เรียกว่า ระบบ AS ที่ระยะเวลาเก็บกัก ทางชลศาสตร์เท่ากับ 8, 6 และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ อายุสลัดจ์เท่ากับ 8 วัน และอุณหภูมิเท่ากับ 28 ± 2 องศาเซลเซียส ผลการทดลอง พบว่า ระบบ AS มีประสิทธิภาพการกำจัดสารอินทรีย์เท่ากับ 90.4 ± 0.6%, 88.7 ± 3.2% และ 84.2 ± 10.2% ตามลำดับ และประสิทธิภาพการกำจัดแอมโมเนียมเท่ากับ 99.2 ± 0.5%, 99.4 ± 1.1% และ 97.9 ± 0.5% ตามลำดับ ส่วนระบบ IFAS มีประสิทธิภาพการกำจัดสารอินทรีย์เท่ากับ 87.6 ± 3.0%, 85.4 ± 3.7% และ 87.7 ± 4.8% ตามลำดับ และมีประสิทธิภาพการกำจัดแอมโมเนียมเท่ากับ 85.1 ± 5.61%, 84.3 ± 6.6% และ 67.5 ± 5.6% ตามลำดับ ที่ระยะเวลาเก็บกักทางชลศาสตร์เท่ากับ 8, 6 และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า การลดระยะเวลาเก็บกักทางชลศาสตร์มีผลกระทบต่อการกำจัดสารอินทรีย์ของระบบ AS เพราะสลัดจ์ถูกชะล้างออกจากถังตกตะกอนเนื่องจากมีเวลาตกตะกอนไม่เพียงพอ และพบแบคทีเรียจำพวกเส้นใยทำให้เกิดตะกอนเบาขึ้น แต่ระยะเวลาเก็บกักทางชลศาสตร์ทำให้การกำจัดแอมโมเนียมไนโตรเจนในระบบ IFAS น้อยลงเนื่องจากระยะเวลาสำหรับการแพร่ของแอมโมเนียมเข้าสู่ชั้นไบโอฟิล์มลดน้อยลงเมื่ออัตราการไหลเพิ่มสูงขึ้น โดยภาพรวมสรุปได้ว่า ระบบ AS มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบ IFAS ที่อายุสลัดจ์เท่ากับ 8 วัน และที่ระยะเวลาเก็บกักทางชลศาสตร์เท่ากับ 8, 6 และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ เนื่องจากการแพร่ของสารอินทรีย์และแอมโมเนียมไนโตรเจนในชั้นไบโอฟิล์มถูกจำกัด โดยระยะเวลาเก็บกักทางชลศาสตร์มีผลกระทบทางลบต่อเสถียรภาพของระบบ IFAS ที่อายุสลัดจ์เท่ากับ 8 วัน และควรใช้ระบบ AS บำบัดน้ำเสียแทนth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectระยะเวลาเก็บกักทางชลศาสตร์th_TH
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพth_TH
dc.subjectไบโอฟิล์มth_TH
dc.subjectไนตริฟิเคชันth_TH
dc.titleผลกระทบของระยะเวลาเก็บกักทางชลศาสตร์ที่มีต่อเสถียรภาพของระบบบำบัดน้ำเสียชีวภาพแบบ Integrated Fixed Film Activated Sludge (IFAS)th_TH
dc.title.alternativeEffects of hydraulic retention time on process stability of Integrated Fixed Film Activated Sludge (IFAS) biological wastewater treatment processth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.issue1th_TH
dc.volume26th_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to evaluate the effects of hydraulic retention time (HRT) on the stability of Integrated Fixed Film Activated Sludge (IFAS) wastewater treatment process. The experiments were conducted by two pilot-scale Modified Ludzack-Ettinger (MLE) systems, i.e., the system installed with Bioweb media in the aerobic zone at the filling volume of 34.5% v/v, so-called as IFAS system, and the system operated without media installed, so-called AS system. Both systems were operated at different HRTs of 8, 6 and 4 hours, at the solid retention time (SRT) of 8 days, and at the temperature of 28 ± 2 ºC. The results revealed that the organic removal efficiencies were 90.4 ± 0.6%, 88.7 ± 3.2%, and 84.2 ± 10.2%, respectively, in AS system and were 87.6 ± 3.0%, 85.4 ± 3.7% and 87.7 ± 4.8%, respectively, in IFAS system. Nitrification were 99.2 ± 0.5%, 99.4 ± 1.1%, and 97.9 ± 0.5%, respectively, for AS system and were 85.1 ± 5.61%, 84.3 ± 6.6%, 67.5 ± 5.6%, respectively, for IFAS system, at the HRTs of 8, 6, and 4 hours, respectively. The reductions of HRTs had the negative effects on the organic removal efficiencies in the AS system because sludges were washed out from the final clarifier due to insufficient settling time and excessive filamentous bacteria resulting in bulking sludge. The negative effects of HRT were resulted in the IFAS system for nitrification because the diffusion time of substrates into the biofilm layers were limited at higher flowrates. It appears that the capacities of AS system for organics and nitrogen removals were higher than IFAS system at the SRT of 8 days and at the HRTs of 8, 6 and 4 hours, respectively, due to the limitations of substrates diffusion. The results indicate that the HRT has a negatively impact on the stability of IFAS system at the SRT of 8 days and the conventional AS should be used instead for the wastewater treatment.th_TH
dc.journalวารสารวิทยาศาสตร์บูรพา = Burapha Science Journalth_TH
dc.page474-487.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
sci26n1p474-487.pdf607.28 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น