กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/445
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์ใบลานในชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Critical study of kamphibailan in Chonburi |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิชัย กุลษาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | คัมภีร์ใบลาน - - ชลบุรี - - บัญชีรายชื่อ คัมภีร์ใบลาน - - ชลบุรี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2543 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยคัมภีร์ใบลานเพื่อการศึกษาเชิงวิเคราะห์นี้เป็นการสำรวจข้อมูลเฉพาะคัมภีร์ใบลาน ที่เก็บรักษาไว้ที่วัดต่าง ๆ ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี และทำบัญชีรายชื่อเรื่องของคัมภีร์ โดยบอกคุณลักษณะของคัมภีร์ใบลานแต่ละฉบับว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น จำนวนผูกของแต่ละคัมภีร์ อักษรที่จาร ภาษาที่ใช้จารเป็นภาษาบาลี สันสกฤต หรือภาษาไทย ลักษณะเฉพาะของคัมภีร์แต่ละฉบับว่าเป็นฉบับลานดิบ ฉบับล่องชาด หรือฉบับล่องทึบ ฉบับทองใหญ่ ฉบับทองน้อย เป็นต้น ผลการสำรวจพบว่า คัมภีร์ใบลานของวัดต่าง ๆ ของจังหวัดชลบุรีเท่าที่ค้นพบในขณะทำการวิจัยนี้มี 1,197 ชื่อเรื่อง รวมจำนวนผูกได้ 2,237 ผูก นอกจากนี้ยังได้พบข้อมูลเอกสารโบราณอื่น เช่น หนังสือสมุดไทยหรือหนังสือสมุดข่อย แต่ไม่มากนัก ที่มาของชื่อเรื่องคัมภีร์ใบลานส่วนใหญ่มีที่มาหลายแห่ง คือ มาจากพระไตรปิฎก อรรถกถาชาดก และคัมภีร์ปกรณ์พิเศษ เป็นต้น เนื้อหาของเรื่องส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา ปรัชญาและเสริมสร้างจริยธรรมคุณธรรม จากการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์คัมภีร์ใบลานดังกล่าวแล้ว ได้แบ่งเนื้อหาของการวิจัยป็น 5 บท คือ บทที่ 1 บทนำ กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของโครงการ ขอบเขต สถานที่ที่เก็บข้อมูล เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดวิธีการดำเนินการวิจัย และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 กล่าวถึงคุณลักษณะของคัมภีร์ใบลาน กรรมวิธีการจารคัมภีร์ใบลาน อักษรที่ใช้บอกหน้าคัมภีร์ใบลานและอักษรที่จารคัมภีร์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาบาลี สันสกฤตหรือภาษาไทย ลักษณะนามของคัมภีร์ใบลานเรียกว่า ฉบับ เป็นฉบับลานดิบ ฉบับลานทอง ฉบับล่องชาด เป็นต้น ลักษณะไม้ประกับหน้า-หลังของคัมภีร์ ผ้าที่ใช้ห่อคัมภีร์ บทที่ 3 กล่าวถึงบัญชีรายชื่อของคัมภัร์ใบลานในพื้นที่ของจังหวัดชลบุรีเท่าที่ค้นพบทั้งหมดในขณะที่ทำการวิจัย บทที่ 4 กล่าวถึงการปริวรรตคัมภีร์ใบลานเรื่อง มิลินทปัญหา คุณค่าและความสำคัญของคัมภีร์มิลินทปัญหา ทั้งด้านประวัติของคัมภัร์และเนื้อหาของคัมภีร์และการแพร่หลายมีการปริวรรตเป็นอักษรมอญ อักษรสิงหล อักษรโรมัน อักษรธิเบต อักษรจีน และอักษรญี่ปุ่น เป็นต้น บทที 5 เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะ ได้กล่าวถึงเนื้อเรื่องของคัมภีร์ทั้งหมดสรุปลงในพระไตรปิฏก คือ พระสุตันตปิฏก พระอภิธรรมปิฏก และพระวินัยปิฏก และเรื่องพระโพธิสัตว์ในทศชาติชาดกในอรรถกถาชาดก เรื่องในคัมภีร์ปกรณ์พิเศษ และเรื่องที่เป็นไวยากรณ์ และได้เสนอแนะศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์หนังสือสมุดข่อย หรือหนังสือสมุดไทยเพื่อนำเรื่องภูมิปัญญาไทยของบรรพบุรุษออกมาเผยแพร่เพื่อได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/445 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_114.pdf | 22.81 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น