กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/445
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวิชัย กุลษาบาล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:49Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:49Z
dc.date.issued2543
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/445
dc.description.abstractการวิจัยคัมภีร์ใบลานเพื่อการศึกษาเชิงวิเคราะห์นี้เป็นการสำรวจข้อมูลเฉพาะคัมภีร์ใบลาน ที่เก็บรักษาไว้ที่วัดต่าง ๆ ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี และทำบัญชีรายชื่อเรื่องของคัมภีร์ โดยบอกคุณลักษณะของคัมภีร์ใบลานแต่ละฉบับว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น จำนวนผูกของแต่ละคัมภีร์ อักษรที่จาร ภาษาที่ใช้จารเป็นภาษาบาลี สันสกฤต หรือภาษาไทย ลักษณะเฉพาะของคัมภีร์แต่ละฉบับว่าเป็นฉบับลานดิบ ฉบับล่องชาด หรือฉบับล่องทึบ ฉบับทองใหญ่ ฉบับทองน้อย เป็นต้น ผลการสำรวจพบว่า คัมภีร์ใบลานของวัดต่าง ๆ ของจังหวัดชลบุรีเท่าที่ค้นพบในขณะทำการวิจัยนี้มี 1,197 ชื่อเรื่อง รวมจำนวนผูกได้ 2,237 ผูก นอกจากนี้ยังได้พบข้อมูลเอกสารโบราณอื่น เช่น หนังสือสมุดไทยหรือหนังสือสมุดข่อย แต่ไม่มากนัก ที่มาของชื่อเรื่องคัมภีร์ใบลานส่วนใหญ่มีที่มาหลายแห่ง คือ มาจากพระไตรปิฎก อรรถกถาชาดก และคัมภีร์ปกรณ์พิเศษ เป็นต้น เนื้อหาของเรื่องส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา ปรัชญาและเสริมสร้างจริยธรรมคุณธรรม จากการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์คัมภีร์ใบลานดังกล่าวแล้ว ได้แบ่งเนื้อหาของการวิจัยป็น 5 บท คือ บทที่ 1 บทนำ กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของโครงการ ขอบเขต สถานที่ที่เก็บข้อมูล เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดวิธีการดำเนินการวิจัย และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 กล่าวถึงคุณลักษณะของคัมภีร์ใบลาน กรรมวิธีการจารคัมภีร์ใบลาน อักษรที่ใช้บอกหน้าคัมภีร์ใบลานและอักษรที่จารคัมภีร์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาบาลี สันสกฤตหรือภาษาไทย ลักษณะนามของคัมภีร์ใบลานเรียกว่า ฉบับ เป็นฉบับลานดิบ ฉบับลานทอง ฉบับล่องชาด เป็นต้น ลักษณะไม้ประกับหน้า-หลังของคัมภีร์ ผ้าที่ใช้ห่อคัมภีร์ บทที่ 3 กล่าวถึงบัญชีรายชื่อของคัมภัร์ใบลานในพื้นที่ของจังหวัดชลบุรีเท่าที่ค้นพบทั้งหมดในขณะที่ทำการวิจัย บทที่ 4 กล่าวถึงการปริวรรตคัมภีร์ใบลานเรื่อง มิลินทปัญหา คุณค่าและความสำคัญของคัมภีร์มิลินทปัญหา ทั้งด้านประวัติของคัมภัร์และเนื้อหาของคัมภีร์และการแพร่หลายมีการปริวรรตเป็นอักษรมอญ อักษรสิงหล อักษรโรมัน อักษรธิเบต อักษรจีน และอักษรญี่ปุ่น เป็นต้น บทที 5 เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะ ได้กล่าวถึงเนื้อเรื่องของคัมภีร์ทั้งหมดสรุปลงในพระไตรปิฏก คือ พระสุตันตปิฏก พระอภิธรรมปิฏก และพระวินัยปิฏก และเรื่องพระโพธิสัตว์ในทศชาติชาดกในอรรถกถาชาดก เรื่องในคัมภีร์ปกรณ์พิเศษ และเรื่องที่เป็นไวยากรณ์ และได้เสนอแนะศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์หนังสือสมุดข่อย หรือหนังสือสมุดไทยเพื่อนำเรื่องภูมิปัญญาไทยของบรรพบุรุษออกมาเผยแพร่เพื่อได้ศึกษาค้นคว้าต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2540-2543en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectคัมภีร์ใบลาน - - ชลบุรี - - บัญชีรายชื่อth_TH
dc.subjectคัมภีร์ใบลาน - - ชลบุรีth_TH
dc.subjectสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์th_TH
dc.titleการศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์ใบลานในชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeCritical study of kamphibailan in Chonburien
dc.typeResearch
dc.year2543
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this critical study of Kamphibailan in Chon Buri were to collect information from the Kamphibailan found in Buddhist temples in the Chonburi province, and to make a list of topics in the Kamphibailan. In each Kamphibailan, the numbers of sheaves, the languages used such as Pali, Sanskrit, or Thai, and special features (each Kamphibailan was called Chabab such as Chabab Landib, Chabab Longchad, Chabab Thongthueb, Chabab Thongyai, or Chabab Thongnoi) were categorized. The results were: 1) there were 1,197 Kamphibailan in Buddhist temples around Chon Buri. 2) there were 2,237 sheaves altogether. In addition, some ancient Documents, for example, Nangsuesamudthai or Nangsuesamudkhoi was also found there. The Kamphibailan was originally written from various sources, for instance, the Tripitake, the Atthakathajataka, and the Kamphirapakornpiset. The content mainly consisted of Religions, philosophy, and ethics and morals. The content of this study contained 5 chapters: 1) The introduction: backgrounds, Purposes, limits, venyes, related literature, procedures, and potential benefits. 2) The Characteristics of the Kamphibailan: writing process, the languages used for page numbers, the languages used in the Karmphibailan (Pali, Sanskrit, or Thai), each Kamphibailan was called Chabab like Chabab Landib, Chabab Longchab, Chabab Thongthueb, Chabab Thongyai, or Chabab Thongnoi, and the kind of wood and cloth used to brace the Kamphibailan. 3) The list of Kamphibailan found in Chon Buri. 4) The transformation of the Kamphibailan named Milindapanha: the values and significance in its history and content widely Transformed into Mon, Sinhalese, Roman, Tibetan, Chinese and Japanese. 5) The conclusions and suggestions: the content of Suttantapitaka, Aphithammapitaka, and Vinayapitaka in the Tripitaka: the content of Bodhisattva in Dasajatijataka in Atthakathajataka; the content of Kamphirapakhornpiset and what was concerned the Pali grammar; and the suggestions for further critical study of Nangsuesamudthai or Nangsuesamudkhoi to publicize the Thai ancestors' intelligence.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_114.pdf22.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น