กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4410
ชื่อเรื่อง: | การจัดการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนของโลจิสติกส์ชิ้นส่วนยานยนต์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Returnable packaging management in automotive parts logistics |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จีราดา อนุชิตนานนท์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะโลจิสติกส์ |
คำสำคัญ: | อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนของโลจิสติกส์ชิ้นส่วนยานยนต์ ที่มุ่งเน้นการศึกษาในบรรจุภัณฑ์ประเภท multi-way packaging หรือ บรรจุภัณฑ์หมุนเวียนในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่เป็นชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อการประกอบรถยนต์ (Original Equipment Manufacturer; OEM) โดยดำเนินการวิจัยจากเอกสารด้วยการสืบค้นจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยก่อนหน้า ตำรา บทความวิจัย และบทความวิชาการต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลที่เผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทผู้ประกอบรถยนต์ และบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และข้อมูลจากบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่อนุญาตให้สามารถนำออกมาได้ ผลจากการศึกษา พบว่า การจัดการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนของโลจิสติกส์ชิ้นส่วนยานยนต์มี 2 รูปแบบ คือ แบบ Share mode บริษัทผู้ประกอบรถยนต์เป็นผู้จัดการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียน และแบบ Dedicate mode บริษัทผลิตชิ้นส่วนเป็นผู้จัดการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียน โดยผู้ที่รับเป็นผู้จัดการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนจะมีหน้าที่ในการจัดซื้อจัดหา และควบคุมสินค้าคงคลังของบรรจุภัณฑ์หมุนเวียน สำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยส่วนใหญ่เป็นแบบ Dedicate mode การจัดการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียน แบ่งออกได้ 3 ส่วน ได้แก่ การวางแผนความต้องการ การจัดการสินค้าคงคลัง และการออกแบบ โดยส่วนใหญ่ผู้ผลิตชิ้นส่วนจะวางแผนความต้องการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนโดยพิจารณาจากค่าพยากรณ์ปริมาณการสั่งซื้อชิ้นส่วน และมีการควบคุมสินค้าคงคลัง 2 ประเภท คือ Pipeline inventory จะพิจารณาบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนที่อยูในกระบวนการ หรืออยู่ระหว่างการขนส่ง และ Safety inventory พิจารณาทั้งในส่วนของผู้ผลิตชิ้นส่วน และถ้าผู้ประกอบรถยนต์ต้องการ สำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนส่วนใหญ่จะ จ้างบริษัทภายนอกออกแบบ ปัจจัยสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนที่สำคัญ คือความสามารถในการวางเรียงซ้อนเมื่อมีสินค้าเต็มกล่อง (Stackability) และความสามารถในการวางซ้อนกันของกล่องเปล่า (Nestability) เนื่องจากจะทำให้เกิดการใช้พื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ลงได้ |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ งานวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี จากกองทุนเพื่อการวิจัย เงินอุดหนุนทุนการวิจัย คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2562 เลขที่สัญญา ล.07/ 2562 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4410 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_107.pdf | 3.17 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น