กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4390
ชื่อเรื่อง: การศึกษาพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Study Wearing Helmet Behavior of Students Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กุลญาดา เนื่องจำนงค์
คำนึง พลานนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: หมวกนิรภัย
จักรยานยนต์ -- อุปกรณ์นิรภัย
ผู้ขับขี่จักรยานยนต์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจในการสวมหมวกนิรภัย บนพื้นฐานทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา กำหนดกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ ประจำปีการศึกษา 2561 ใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน สุ่มตัวอย่างด้วยเทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) ถ้าคณะใดมีประชากรจำนวนมากจะต้องสุ่มกลุ่มตัวอย่างมาก ถ้าคณะใดมีประชากรจำนวนน้อยจะต้องสุ่มกลุ่มตัวอย่างน้อย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) วิเคราะห์ในรูปแบบความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยเป็นดังนี้ พฤติกรรมการใช้จักรยานยนต์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการครอบครองจักรยานโดยเป็นเจ้าของเอง (ร้อยละ 64.25) มากกว่าไม่ได้เป็นเจ้าของ มีประสบการณ์ในการขับขี่ อยู่ระหว่าง 4-6 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 55.25) มีการขับขี่ในลักษณะที่ไม่มีผู้ซ้อนท้าย (ร้อยละ 58.50) ประวัติการประสบอุบัติเหตุหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.50 ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุหนัก สำหรับขนาดรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการขับขี่ ส่วนใหญ่เป็นขนาด 125 ซีซี วัตถุประสงค์ในการขับขี่ ร้อยละ 99.5 ขับขี่เพื่อไปศึกษา/ทำงาน ระยะทางในการขับขี่ปกติใน 1 วัน เป็นระยะทางมากกว่า 5 กิโลเมตร (ร้อยละ 60.25) ความเร็วที่ใช้ในการขับขี่ปกติ 51-70 กิโลเมตร/ชั่วโมง มากที่สุด (ร้อยละ 60.00) สำหรับพื้นที่ที่ขับขี่โดยปกติ เป็นถนนในหมู่บ้าน/ภายในมหาวิทยาลัย มากที่สุด (ร้อยละ 85.00) ช่วงเวลาในการขับขี่จักรยานยนต์ เป็นช่วง 18:01 – 21:00 น. และ เวลา 09:01 – 12:00 น. มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.25 และ 92.50 ส่วนช่วงเวลาที่กลุ่มตัวอย่างขับขี่จักรยานน้อยที่สุด คือ ช่วงเวลา 00:01 – 06:00 น. คิดเป็นร้อยละ 34.50 หมวกนิรภัยที่สวมใส่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 94.25 เป็นของผู้ขับขี่เอง โดยชนิดของหมวกที่สวมใส่ เป็นแบบเต็มใบ มากที่สุด (ร้อยละ 39.25) ประวัติการถูกจับกุมในความผิดเกี่ยวกับการขับขี่โดยไม่สวมหมวกนิรภัย พบว่า ไม่เคยถูกจับกุม มากกว่าถูกจับกุม (ร้อยละ 64.50) สำหรับกรณีการพบเห็นการตั้งด่านตรวจในพื้นที่ที่ขับขี่ ส่วนมาก ร้อยละ 88.75 โดยพบเห็นด่านตรวจ 1 แห่ง/วัน ความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายที่บังคับใช้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หมวกนิรภัย มีสัดส่วนมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีความรู้ความเข้า โดยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหมวกนิรภัยในระดับสูง โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ย 7.00 จาก ทั้งหมด 10 คะแนน พฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัย โดยกำหนดสถานการณ์ต่าง ๆ ในการขับขี่จักรยานยนต์ ผลจากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่สวมหมวกนิรภัยในการขับขี่ จะมีสัดส่วนมากกว่ากลุ่มที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่สวมหมวกนิรภัย มีน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด เมื่อพิจารณาเป็นรายสถานการณ์ จะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่จะสวมหมวกนิรภัย เป็นบางครั้งที่มีการขับขี่ มากที่สุด และพบว่า กรณีที่ผู้ขับขี่ต้องออกเดินทางไปถนนใหญ่ (ทางหลวง) ส่วนใหญ่แล้วกลุ่มตัวอย่างจะสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง มากที่สุด"
รายละเอียด: สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4390
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_087.pdf4.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น