กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4390
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | กุลญาดา เนื่องจำนงค์ | |
dc.contributor.author | คำนึง พลานนท์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-05-24T09:29:31Z | |
dc.date.available | 2022-05-24T09:29:31Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4390 | |
dc.description | สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจในการสวมหมวกนิรภัย บนพื้นฐานทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา กำหนดกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ ประจำปีการศึกษา 2561 ใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน สุ่มตัวอย่างด้วยเทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) ถ้าคณะใดมีประชากรจำนวนมากจะต้องสุ่มกลุ่มตัวอย่างมาก ถ้าคณะใดมีประชากรจำนวนน้อยจะต้องสุ่มกลุ่มตัวอย่างน้อย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) วิเคราะห์ในรูปแบบความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยเป็นดังนี้ พฤติกรรมการใช้จักรยานยนต์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการครอบครองจักรยานโดยเป็นเจ้าของเอง (ร้อยละ 64.25) มากกว่าไม่ได้เป็นเจ้าของ มีประสบการณ์ในการขับขี่ อยู่ระหว่าง 4-6 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 55.25) มีการขับขี่ในลักษณะที่ไม่มีผู้ซ้อนท้าย (ร้อยละ 58.50) ประวัติการประสบอุบัติเหตุหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.50 ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุหนัก สำหรับขนาดรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการขับขี่ ส่วนใหญ่เป็นขนาด 125 ซีซี วัตถุประสงค์ในการขับขี่ ร้อยละ 99.5 ขับขี่เพื่อไปศึกษา/ทำงาน ระยะทางในการขับขี่ปกติใน 1 วัน เป็นระยะทางมากกว่า 5 กิโลเมตร (ร้อยละ 60.25) ความเร็วที่ใช้ในการขับขี่ปกติ 51-70 กิโลเมตร/ชั่วโมง มากที่สุด (ร้อยละ 60.00) สำหรับพื้นที่ที่ขับขี่โดยปกติ เป็นถนนในหมู่บ้าน/ภายในมหาวิทยาลัย มากที่สุด (ร้อยละ 85.00) ช่วงเวลาในการขับขี่จักรยานยนต์ เป็นช่วง 18:01 – 21:00 น. และ เวลา 09:01 – 12:00 น. มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.25 และ 92.50 ส่วนช่วงเวลาที่กลุ่มตัวอย่างขับขี่จักรยานน้อยที่สุด คือ ช่วงเวลา 00:01 – 06:00 น. คิดเป็นร้อยละ 34.50 หมวกนิรภัยที่สวมใส่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 94.25 เป็นของผู้ขับขี่เอง โดยชนิดของหมวกที่สวมใส่ เป็นแบบเต็มใบ มากที่สุด (ร้อยละ 39.25) ประวัติการถูกจับกุมในความผิดเกี่ยวกับการขับขี่โดยไม่สวมหมวกนิรภัย พบว่า ไม่เคยถูกจับกุม มากกว่าถูกจับกุม (ร้อยละ 64.50) สำหรับกรณีการพบเห็นการตั้งด่านตรวจในพื้นที่ที่ขับขี่ ส่วนมาก ร้อยละ 88.75 โดยพบเห็นด่านตรวจ 1 แห่ง/วัน ความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายที่บังคับใช้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หมวกนิรภัย มีสัดส่วนมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีความรู้ความเข้า โดยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหมวกนิรภัยในระดับสูง โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ย 7.00 จาก ทั้งหมด 10 คะแนน พฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัย โดยกำหนดสถานการณ์ต่าง ๆ ในการขับขี่จักรยานยนต์ ผลจากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่สวมหมวกนิรภัยในการขับขี่ จะมีสัดส่วนมากกว่ากลุ่มที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่สวมหมวกนิรภัย มีน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด เมื่อพิจารณาเป็นรายสถานการณ์ จะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่จะสวมหมวกนิรภัย เป็นบางครั้งที่มีการขับขี่ มากที่สุด และพบว่า กรณีที่ผู้ขับขี่ต้องออกเดินทางไปถนนใหญ่ (ทางหลวง) ส่วนใหญ่แล้วกลุ่มตัวอย่างจะสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง มากที่สุด" | th_TH |
dc.description.sponsorship | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | หมวกนิรภัย | th_TH |
dc.subject | จักรยานยนต์ -- อุปกรณ์นิรภัย | th_TH |
dc.subject | ผู้ขับขี่จักรยานยนต์ | th_TH |
dc.title | การศึกษาพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.title.alternative | A Study Wearing Helmet Behavior of Students Burapha University | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | kulyada@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | kamnueng@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2563 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research has Objective: To study the behavior of wearing a helmet of Burapha University students. Study the factors that are related to the intention of wearing a helmet. Based on the health belief pattern theory of Burapha University students. Determine the population groups used in the study are undergraduate students. Burapha University, Bangsaen Campus. Both regular and special sections of the academic year 2018, using a sample of 400 people randomly selected Stratified random sampling technique. If any faculty has a small population, a small sample must be chosen. The tools used to collect data were questionnaires. Data were analyzed by using descriptive statistics to analyze in the form of frequency, percentage, minimum, maximum and standard deviation. The research results are as follows The behavior of using motorcycles found that the sample possessed bicycles by own owners (64.25%) more than not the owners. Most of them have experience in driving between 4-6 years (55.25%), driving without pillion (58.50%), having a serious accident that requires hospitalization. Most 80.50 percent have never received a serious accident. For motorcycle size used for driving most of the size is 125 cc. Driving objectives, 99.5% drive to study / work the normal driving distance of 1 day is more than 5 kilometers (60.25%). The normal driving speed is 51-70 kilometers / hour, the most (60.00%) for the normal driving area. The most in the village / campus road (85.00%), motorcycle riding time is between 18:01 - 21:00 hrs and 09:01 - 12:00 hrs, the most is 93.25% and 92.50, while the time that the smallest bicycle is 00:01 - 06:00, 34.50% Helmet worn the majority of 94.25% belong to the driver himself. By the type of hat worn was the most complete form (39.25%). History of being arrested for driving without a helmet, found that never been arrested more than arrested (64.50%). For the case of setting up checkpoints in most driving areas, 88.75% with 1 checkpoint per day. Knowledge about the applicable law found that the samples have knowledge and understanding about helmet use. Had a higher proportion than those without knowledge with a high level of knowledge and understanding about helmets with an average score of 7.00 out of 10 points. Helmet wearing behavior specifying by various situations of driving a motorcycle the results of the study show that the sample of people who wear a helmet for driving will have a greater proportion than those who do not wear a helmet in all situations, especially those who do not wear a helmet. When considering each situation, it can be seen that most of them wear helmets. It is found that when the driver has to travel to the main road (highway), most of the samples will wear the helmet every time the most. | en |
dc.keyword | สาขาสังคมวิทยา | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_087.pdf | 4.5 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น