กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/439
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานในพื้นที่เป้าหมายของโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (ชลบุรี)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of labor migration problems in the Eastern seaboard development project area with the focus on the area in Chonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรุติ สกุลรัตน์
สุพจน์ บุญวิเศษ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: การเคลื่อนย้ายแรงงาน - - ชลบุรี
การเคลื่อนย้ายแรงงาน - - ไทย (ภาคตะวันออก)
รงงาน - - ชายฝั่งทะเลตะวันออก
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
อุปทานแรงงาน - - ไทย (ภาคตะวันออก)
วันที่เผยแพร่: 2539
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การศึกษาปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานในพื้นที่เป้าหมายของโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (ชลบุรี) มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจการเคลื่อนย้ายของแรงงานสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดชลบุรี และปัญหาของแรงงานภาคอุตสาหกรรมที่ย้ายถิ่นเหล่านี้ รวมทั้งการแสวงหามาตรการที่เหมาะสมในการก้ไขปัญหาที่เกิดจากการย้ายถิ่นของแรงงาน การศึกษานี้ได้ดำเนินการต่อประชากรเป้าหมาย ซึ่งเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรมในโรงงาน 4 แห่ง ในจังหวัดชลบุรี แบ่งเป็นโรงงานในเขตอำเภอศรีราชา 2 แห่ง โรงงานในเขตนิคมแหลมฉบัง 2 แห่ง ซึ่งมีจำนวนแรงงานประมาณ 1,200 คน การสุ่มตัวอย่าง จะทำประมาณร้อยละ 50 ของแรงงานในโรงงานแต่ละแห่ง จำนวน 625 คน การศึกษานี้จะสำรวจสถานภาพและปัญหาของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเขตชลบุรี 10 ประการ ได้แก่ เพศ อายุ ภูมิลำเนา สถานภาพสมรส การย้ายครอบครัว ประสบการณ์ก่อนการทำงาน แหล่งฝึกงาน ระดับการศึกษา สถานที่อยู่อาศัย และอาชีพเดิม การวิเคราะห์ข้อมูลจะกระทำโดยใช้อัตราส่วนแบบร้อยละ จากการวิจัยพบว่า แรงงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี มีสัดส่วนระหว่างชายและหญิงไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 19-27 ปี แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 39.52 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ที่เป็นโสดและสมรสแล้วมีสัดส่วนไม่แตกต่างกัน แรงงานที่สมรสแล้วส่วนใหญ่ร้อยละ 70.21 นำครอบครัวมาอยู่ด้วย แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 60.16 ไม่เคยเรียนหรือฝึกงานด้านโรงงานมาก่อน อาศัยการเรียนรู้จากโรงงาน การศึกษาของแรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 47.68 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พักอาศัยร้อยละ 53.44 อยู่บ้านเช่า และห้องเช่า แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 33.28 เคยทำงานในโรงงานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมาก่อน ปัญหาสำคัญของแรงงานที่ย้ายถิ่นในเขตจังหวัดชลบุรี คือ ที่อยู่อาศัย ผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมยังไม่สามารถซื้อบ้านเป็นของตนเองได้เพราะรายได้ไม่เพียงพอที่จะเช่าซื้อ หรือผ่อนชำระเป็นงวด นอกจากนี้ที่อยู่อาศัยในเขตอุตสาหกรรมยังมีราคาที่สูงมาก แม้กระทั่งแฟลตของการเคหะแห่งชาติก็ยังมีราคาที่สูงเกินกว่าแรงงานย้ายถิ่นเหล่านี้จะเช่าซื้อได้ ผลที่ตามมาคือการก่อตัวของบ้านแบ่งเช่า หรือห้องแบ่งเช่าราคาถูก และที่ดินแบ่งเช่า ซึ่งกำลังจะแปรสภาพกลายเป็นชุมชนแออัดต่อไป หากรัฐบาลและหน่วยงานราชการยังไม่เริ่มต้นแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/439
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_153.pdf2.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น