กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4375
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการฝึกหัดการรู้คิดต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมอง และความจำใช้งานในครูเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Impact of cognitive training program on executive functions and working memory in teacher in eastern economic corridor
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฑามาศ แหนจอน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: สมอง - - โรค
อุตสาหกรรมพัฒนาบุคลากรและการศึกษา
การรู้คิด - - แบบฝึกหัด
ความจำ - - แบบฝึกหัด
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานในครูเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 2) พัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกการรู้คิดต่อสมรรถนะหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานในครูเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก การศึกษาระดับและปัจจัยที่ส่งผลต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานในครูเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จำนวน 448 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยสุ่มเลือกโรงเรียนอนุบาลขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนประถมขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ และสุ่มอย่างโดยการจับฉลาก จังหวัดละ 1 โรงเรียน ได้โรงเรียนอนุบาลชลบุรี โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร และโรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรี ตัณฑิกุล ราษฎร์ ศึกษาลัย) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลเบื้องต้นของครู 2) มาตรวัดความผาสุกเชิงจิตวิทยา ฉบับภาษาไทย 3) แบบทดสอบความเครียดสวนปรุง 4) มาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานสำหรับนักการศึกษา 5) มาตรวัดหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับผู้ใหญ่-ฉบับภาษาไทย 6) การทดสอบการเรียงลำดับตัวเลข และตัวอักษร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเส้น การพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกการรู้คิดต่อสมรรถนะหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานในครูเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการเลือกเฉพาะเจาะจงในจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจากระยะที่ 1 และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 60 คน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มโดยการจับคู่คะแนน ได้ 30 คู่ ผู้วิจัยจับฉลากเพื่อสุ่มจำแนกกลุ่มเป็นกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 และทำการสุ่มกลุ่มทดลองแบบสุ่ม โดยการจับฉลาก ได้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) มาตรวัดหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับผู้ใหญ่-ฉบับภาษาไทย 2) การทดสอบการเรียงลำดับตัวเลข และตัวอักษร และ 3) โปรแกรมการฝึกการรู้คิดเพื่อเพิ่มสมรรถนะหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานสำหรับครูในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งเป็นวิธีการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งาน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยบูรณาการแนวคิดของการยอมรับพันธะสัญญา โปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส การฝึกสติแบบเพ่งความสนใจจดจ่อและการฝึกหัดการรู้คิด กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฯจำนวน 8 ครั้ง ๆ 90 นาที โดยฝึกอบรมแบบมาราธอน จำนวน 2 วัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคลิปวีดีโอความรู้วิธีการเสริมสร้างเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานความยาว 12 นาที ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานก่อนทดลองและหลังทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. เพศ สถานภาพสมรส จำนวนชั่วโมงการนอน ประวัติการใช้สุรา/ บุหรี่ และประวัติการฝึกสติ ส่งผลต่อความบกพร่องของหน้าที่บริหารจัดการของสมองครูเขตระเบียงเศรษฐกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุกับจำนวนชั่วโมงการนอนส่งผลต่อความจุของจำใช้งาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ภายในและระหว่างตัวแปรแฝงมีทิศทางบวก (ความเครียด =0.532 - 0.728 ความจำใช้งาน = 0.900 ความผาสุก= 0.135-0.584 หน้าที่บริหารจัดการของสมอง=0.684) และทิศทางบวกและลบ (ภาวะหมดไฟในการทำงาน=-0.200 -0.579) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของหน้าที่บริหารจัดการของสมอง ความเครียด ภาวะหมดไฟในการทำงาน ความผาสุกและความจำใช้งานของครูเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2 = 197.824, p = 0.000, Relative 2 =2.198, df =90, GFI = 0.948, AGFI = 0.921, CFI= 0.981, RMSEA = 0.051, RMR = 0.056, SRMR = 0.057, CN= 282.564) 4. หน้าที่การบริหารจัดการสมองสามารถทำนายความเครียด ได้ประมาณร้อยละ 21.9 สามารถทำนายภาวะหมดไฟในการทำงานร่วมกับตัวแปรความเครียด ได้ประมาณร้อยละ 44.8 สามารถทำนายความจำใช้งานร่วมกับความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงาน ได้ประมาณร้อยละ 11.9 และสามารถทำนายความผาสุกงานร่วมกับความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงาน ได้ประมาณร้อยละ 48.7 โดยหน้าที่บริหารจัดการของสมองมีอิทธิพลทางตรงต่อความเครียด ภาวะหมดไฟในการทำงาน ความจำใช้งาน และความผาสุก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรง เท่ากับ 0.468, 0.229, -0.382 และ -0.302 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน ความจำใช้งาน และความผาสุก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีขนาดอิทธิพลทางอ้อม เท่ากับ 0.248, -0.239 และ 0.124 ตามลำดับ 5. ครูกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกการรู้คิดมีหน้าหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานหลังทดลองดีกว่าก่อนทดลอง และดีกว่าครูกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัย เงินรายได้ส่วนงานจากเงินกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เลขที่สัญญา 12/2560
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4375
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_104.pdf2.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น