กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4375
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | จุฑามาศ แหนจอน | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-05-22T11:58:54Z | |
dc.date.available | 2022-05-22T11:58:54Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4375 | |
dc.description | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัย เงินรายได้ส่วนงานจากเงินกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เลขที่สัญญา 12/2560 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานในครูเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 2) พัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกการรู้คิดต่อสมรรถนะหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานในครูเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก การศึกษาระดับและปัจจัยที่ส่งผลต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานในครูเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จำนวน 448 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยสุ่มเลือกโรงเรียนอนุบาลขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนประถมขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ และสุ่มอย่างโดยการจับฉลาก จังหวัดละ 1 โรงเรียน ได้โรงเรียนอนุบาลชลบุรี โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร และโรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรี ตัณฑิกุล ราษฎร์ ศึกษาลัย) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลเบื้องต้นของครู 2) มาตรวัดความผาสุกเชิงจิตวิทยา ฉบับภาษาไทย 3) แบบทดสอบความเครียดสวนปรุง 4) มาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานสำหรับนักการศึกษา 5) มาตรวัดหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับผู้ใหญ่-ฉบับภาษาไทย 6) การทดสอบการเรียงลำดับตัวเลข และตัวอักษร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเส้น การพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกการรู้คิดต่อสมรรถนะหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานในครูเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการเลือกเฉพาะเจาะจงในจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจากระยะที่ 1 และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 60 คน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มโดยการจับคู่คะแนน ได้ 30 คู่ ผู้วิจัยจับฉลากเพื่อสุ่มจำแนกกลุ่มเป็นกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 และทำการสุ่มกลุ่มทดลองแบบสุ่ม โดยการจับฉลาก ได้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) มาตรวัดหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับผู้ใหญ่-ฉบับภาษาไทย 2) การทดสอบการเรียงลำดับตัวเลข และตัวอักษร และ 3) โปรแกรมการฝึกการรู้คิดเพื่อเพิ่มสมรรถนะหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานสำหรับครูในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งเป็นวิธีการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งาน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยบูรณาการแนวคิดของการยอมรับพันธะสัญญา โปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส การฝึกสติแบบเพ่งความสนใจจดจ่อและการฝึกหัดการรู้คิด กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฯจำนวน 8 ครั้ง ๆ 90 นาที โดยฝึกอบรมแบบมาราธอน จำนวน 2 วัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคลิปวีดีโอความรู้วิธีการเสริมสร้างเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานความยาว 12 นาที ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานก่อนทดลองและหลังทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. เพศ สถานภาพสมรส จำนวนชั่วโมงการนอน ประวัติการใช้สุรา/ บุหรี่ และประวัติการฝึกสติ ส่งผลต่อความบกพร่องของหน้าที่บริหารจัดการของสมองครูเขตระเบียงเศรษฐกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุกับจำนวนชั่วโมงการนอนส่งผลต่อความจุของจำใช้งาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ภายในและระหว่างตัวแปรแฝงมีทิศทางบวก (ความเครียด =0.532 - 0.728 ความจำใช้งาน = 0.900 ความผาสุก= 0.135-0.584 หน้าที่บริหารจัดการของสมอง=0.684) และทิศทางบวกและลบ (ภาวะหมดไฟในการทำงาน=-0.200 -0.579) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของหน้าที่บริหารจัดการของสมอง ความเครียด ภาวะหมดไฟในการทำงาน ความผาสุกและความจำใช้งานของครูเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2 = 197.824, p = 0.000, Relative 2 =2.198, df =90, GFI = 0.948, AGFI = 0.921, CFI= 0.981, RMSEA = 0.051, RMR = 0.056, SRMR = 0.057, CN= 282.564) 4. หน้าที่การบริหารจัดการสมองสามารถทำนายความเครียด ได้ประมาณร้อยละ 21.9 สามารถทำนายภาวะหมดไฟในการทำงานร่วมกับตัวแปรความเครียด ได้ประมาณร้อยละ 44.8 สามารถทำนายความจำใช้งานร่วมกับความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงาน ได้ประมาณร้อยละ 11.9 และสามารถทำนายความผาสุกงานร่วมกับความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงาน ได้ประมาณร้อยละ 48.7 โดยหน้าที่บริหารจัดการของสมองมีอิทธิพลทางตรงต่อความเครียด ภาวะหมดไฟในการทำงาน ความจำใช้งาน และความผาสุก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรง เท่ากับ 0.468, 0.229, -0.382 และ -0.302 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน ความจำใช้งาน และความผาสุก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีขนาดอิทธิพลทางอ้อม เท่ากับ 0.248, -0.239 และ 0.124 ตามลำดับ 5. ครูกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกการรู้คิดมีหน้าหน้าที่บริหารจัดการของสมองและความจำใช้งานหลังทดลองดีกว่าก่อนทดลอง และดีกว่าครูกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | th_TH |
dc.description.sponsorship | กองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | สมอง - - โรค | th_TH |
dc.subject | อุตสาหกรรมพัฒนาบุคลากรและการศึกษา | th_TH |
dc.subject | การรู้คิด - - แบบฝึกหัด | th_TH |
dc.subject | ความจำ - - แบบฝึกหัด | th_TH |
dc.title | ผลของโปรแกรมการฝึกหัดการรู้คิดต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมอง และความจำใช้งานในครูเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก | th_TH |
dc.title.alternative | Impact of cognitive training program on executive functions and working memory in teacher in eastern economic corridor | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | juthamas@go.buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2564 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research aims 1) to investigate levels and factors associated with executive functions and working memory among teachers in Eastern Economic Corridor (EEC), and 2) to develop and examine the effectiveness of cognitive training on executive functions (EFs) and working memory among teachers in EEC. The research study investigates factors and their levels that exert effects on EFs and working memory among EEC teachers. A total of 448 teachers in the EEC were recruited using multistage sampling by randomly choosing from extra-large kindergarten schools, elementary schools, and high schools, resulting in one school per province: Anubanchonburi School, Maptaputphanpittayakarn School, and Wat Donthong School (Suwannasri Tanthikunrat Suksa Lai). Research instruments consisted of 1) Teacher Primarily Data Questionnaire, 2) Ryff Scales of Psychological Well-Being-Thai version, 3) Suan Prung Stress Test-20 (SPST-20), 4) Maslach Burnout Inventory for Educators (MBI-ES), 5) Behavior Rating Inventory of Executive Function-Adult Version: Thai version (BRIEF-A: Thai version), and 6) Letter Number Sequencing test (LNS). Statistical analyses were performed using Analysis of the Variance (ANOVA) and the Structural Equation Modeling (SEM). For the development and examination of cognitive training program on EFs and working memory, the experiment was performed using Phase 1 recruited teachers from specific schools in Chonburi Province with voluntary participation (N=60), and they were assigned into groups using matched pairs design for 30 pairs. They were randomly selected into either Group 1 or Group 2, then the groups were assigned for experimental group (n=30) and control group (n=30) using simple random sampling. Experimental research instruments include 1) BRIEF-A: Thai version, 2) LNS test, and 3) cognitive training programs for enhancing EFs and working memory (EFWM-TE), which was designed by the researcher based on integrated acceptance and commitment therapy (ACT), neuro-lingistic programming (NLP), focused attention meditation (FAM), and cognitive training. The experimental group received the EFWM-TE 8 sessions (90-minute session) by training in a marathon for 2 days. Meanwhile, the control group received short 12-minute documentary video on how to strengthen the executive functions of the brain and working memory, which was developed by the researcher. The samples were assessed on EFs of the brain and working memory both before and after the experiments. The collected data were analyzed by means and t-score. The research results were found that; 1. The results indicated that gender, marital status, sleep hours, alcohol/tobacco use behavior, and history of mindfulness training, exerted statistically significant impact on the impairment of EFs among EEC teachers (p < .05). Age and sleep hours showed significant impact on working memory span among these teachers. The factors that markedly affected working memory span among EEC teachers were age and hours of sleep. 2. The correlation coefficients between the observed variables and latent variables were significantly positive in both between and within variables (stress = 0.532 - 0.728, working memory = 0.900, well-being = 0.135- 0.584, executive functions = 0.684). Meanwhile, there were and both positive and negative relationships in burnout (-0.200 – 0.579) (p < .05). 3. The causal relationship between EFs, stress, burnout, well-being, and working memory among EEC teachers fitted with the empirical data (2 = 197.824, p = 0.000, Relative 2 =2.198, df =90, GFI = 0.948, AGFI = 0.921, CFI= 0.981, RMSEA = 0.051, RMR = 0.056, SRMR = 0.057, CN= 282.564) 4. EFs could be used to predict stress with approximately 21.9%. EFs and stress could predict burnout about 44.8%. EFs with stress and burnout, could predict working memory about 11.9%; meanwhile, they could predict well-being approximately 48.7%. EFs showed the direct effect on stress, burnout, working memory, and well-being at the statistical level (p < 0.001) with the direct effects of 0.468, 0.229, -0.382, and 0.302, respectively. Furthermore, EFs showed the indirect effect on burnout, working memory, and well-being at the statistical level (p < 0.001) with the indirect effects of 0.248, -0.239, and 0.124, respectively. 5. EEC teachers received EFWM-TE cognitive training showed better performance on EFs and working memory tasks when compared to performance tasks before training and also compared to control group (p < 0.05). | en |
dc.keyword | สาขาการศึกษา | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_104.pdf | 2.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น