กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4353
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาฟิล์มผสมสารสกัดจากเปลือกสับปะรดต้านจุลินทรีย์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of antimicrobial pineapple peel extract-impregnated-film |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิรมล ปัญญ์บุศยกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
คำสำคัญ: | สับปะรด ฟิล์มไคโตซาน |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาฟิล์มไคโตซานผสมสารสกัดเปลือกสับปะรดที่มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์โดยอบเปลือกสับปะรด (70 องศาเซลเซียส) บดละเอียด และร่อน (100 เมซ) และนำผงเปลือกสับปะรดผสมกับน้ำกลั่นในอัตราส่วน 1:10 เขย่าที่ 120 รอบต่อนาที4 ชั่วโมง กรอง และระเหยด้วยเครื่องระเหยแบบแบบลดความดันได้สารสกัดหยาบ (PPE) จากนั้นจึงนำไปผสมลงในสารละลายฟิล์มได้เป็นฟิล์มไคโตซานที่มีปริมาณสารสกัด PPE 0 0.5 1 1.5 2.0 และ 5.0 % (w/v) และนำไปศึกษาฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ด้วย วิธีการแพร่ (Agar disc diffusion) และวิธี JIS Z 2801 จากการทดลองไม่พบพื้นที่ยับยั้งเมื่อทดสอบด้วยวิธีการแพร่ แต่พบฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของฟิล์มที่มีสารสกัดจากเปลือกสับปะรดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อความเข้มข้น PPE ในฟิล์มเพิ่มขึ้น โดยสามารถลดจำนวนจุลินทรีย์ลงได้ถึง 1-2 log อย่างไรก็ตามฟิล์มที่มีสารสกัดจากเปลือกสับปะรด 5.0 % มีลักษณะที่เหนียวหนืดไม่คงตัว จึงไม่สามารถนำไปวิเคราะห์สมบัติของฟิล์มด้านอื่น ๆ ต่อได้ จึงเลือกฟิล์มที่มีสารสกัดเปลือกสับปะรด 0-2.0 % (w/v) ไปศึกษาสมบัติของฟิล์มด้านต่าง ๆ ต่อไป โดยพบว่าความหนาของฟิล์มที่มีสารสกัดจากเปลือกสับปะรดในปริมาณต่าง ๆ กัน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p > 0.05) โดยมีความหนาอยู่ระหว่าง 0.0716-0.0800 มิลลิเมตร ค่าการต้านแรงดึง (0.058-0.115 MPa) การยืดตัว ณ จุดขาด (105-115 %) ค่าการละลายน้ำ (38.99-45.08 %) และค่าการซึมผ่านของไอน้ำ (0.021-0.027 g.m/m 2 .day.atm) ของฟิล์มมีแนวโน้มลดลงเมื่อปริมาณของสารสกัดจากเปลือกสับปะรดมีค่าเพิ่มขึ้น และมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อสารสกัดเปลือกสับปะรดเป็น 2.0 กรัมต่อมิลลิลิตร และจากการวิเคราะห์ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของฟิล์มไคโตซานที่มีสารสกัดเปลือกสับปะรดพบว่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (DPPH scavenging activity) และความสามารถในการรีดิวซ์เฟอริกเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณของสารสกัดเปลือกสับปะรดเพิ่มขึ้น (8.80- 13.47 % และ 21.01-232.55 กรัมสมมูล FE/กรัมตัวอย่าง (น้ำหนักแห้ง) ตามลำดับ) |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ คณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4353 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_053.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น