กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4353
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | นิรมล ปัญญ์บุศยกุล | |
dc.contributor.other | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th |
dc.date.accessioned | 2022-05-21T13:44:14Z | |
dc.date.available | 2022-05-21T13:44:14Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4353 | |
dc.description | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ คณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 | th_TH |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาฟิล์มไคโตซานผสมสารสกัดเปลือกสับปะรดที่มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์โดยอบเปลือกสับปะรด (70 องศาเซลเซียส) บดละเอียด และร่อน (100 เมซ) และนำผงเปลือกสับปะรดผสมกับน้ำกลั่นในอัตราส่วน 1:10 เขย่าที่ 120 รอบต่อนาที4 ชั่วโมง กรอง และระเหยด้วยเครื่องระเหยแบบแบบลดความดันได้สารสกัดหยาบ (PPE) จากนั้นจึงนำไปผสมลงในสารละลายฟิล์มได้เป็นฟิล์มไคโตซานที่มีปริมาณสารสกัด PPE 0 0.5 1 1.5 2.0 และ 5.0 % (w/v) และนำไปศึกษาฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ด้วย วิธีการแพร่ (Agar disc diffusion) และวิธี JIS Z 2801 จากการทดลองไม่พบพื้นที่ยับยั้งเมื่อทดสอบด้วยวิธีการแพร่ แต่พบฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของฟิล์มที่มีสารสกัดจากเปลือกสับปะรดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อความเข้มข้น PPE ในฟิล์มเพิ่มขึ้น โดยสามารถลดจำนวนจุลินทรีย์ลงได้ถึง 1-2 log อย่างไรก็ตามฟิล์มที่มีสารสกัดจากเปลือกสับปะรด 5.0 % มีลักษณะที่เหนียวหนืดไม่คงตัว จึงไม่สามารถนำไปวิเคราะห์สมบัติของฟิล์มด้านอื่น ๆ ต่อได้ จึงเลือกฟิล์มที่มีสารสกัดเปลือกสับปะรด 0-2.0 % (w/v) ไปศึกษาสมบัติของฟิล์มด้านต่าง ๆ ต่อไป โดยพบว่าความหนาของฟิล์มที่มีสารสกัดจากเปลือกสับปะรดในปริมาณต่าง ๆ กัน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p > 0.05) โดยมีความหนาอยู่ระหว่าง 0.0716-0.0800 มิลลิเมตร ค่าการต้านแรงดึง (0.058-0.115 MPa) การยืดตัว ณ จุดขาด (105-115 %) ค่าการละลายน้ำ (38.99-45.08 %) และค่าการซึมผ่านของไอน้ำ (0.021-0.027 g.m/m 2 .day.atm) ของฟิล์มมีแนวโน้มลดลงเมื่อปริมาณของสารสกัดจากเปลือกสับปะรดมีค่าเพิ่มขึ้น และมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อสารสกัดเปลือกสับปะรดเป็น 2.0 กรัมต่อมิลลิลิตร และจากการวิเคราะห์ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของฟิล์มไคโตซานที่มีสารสกัดเปลือกสับปะรดพบว่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (DPPH scavenging activity) และความสามารถในการรีดิวซ์เฟอริกเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณของสารสกัดเปลือกสับปะรดเพิ่มขึ้น (8.80- 13.47 % และ 21.01-232.55 กรัมสมมูล FE/กรัมตัวอย่าง (น้ำหนักแห้ง) ตามลำดับ) | th_TH |
dc.description.sponsorship | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | สับปะรด | th_TH |
dc.subject | ฟิล์มไคโตซาน | th_TH |
dc.title | การพัฒนาฟิล์มผสมสารสกัดจากเปลือกสับปะรดต้านจุลินทรีย์ | th_TH |
dc.title.alternative | Development of antimicrobial pineapple peel extract-impregnated-film | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | niramolp@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2564 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | In this study, the Development of antimicrobial pineapple peel- impregnated- film. Pineapple peel (PP) was dried (70 °C), ground and sifted (100 mesh), were mixed with distilled water (DW) at the PP-to-DW ratio of 1:10 and shaken at 120 rpm for 4 hrs. Then, the mixture was filtered and the filtrate was subjected for rotary evaporator under reduced pressure to get a PP crude extract (PPE) . Chitosan (CH) film incorporated with various concentrations of PPE (0 0.5 1.0 1.5 2.0 5.0 % w/v) were evaluated. The antimicrobial activity of the films was evaluated by disc diffusion method and JIS Z 2801 method. Results indicated that the antimicrobial activities of the PPE- CH films increased with the increasing PPE concentration. However, PPE-CH films containing 5.0% has poor properties. PPE-CH films containing 2.0% was chosen to continue their research. The thickness of PPE- CH films showed no significant difference with the increasing PPE in the film. With the increasing PPE concentration in the CH matrix, tensile strength (TS) (0.99-0.115 MPa), elongation at break (EAB)(105-115 %), water vapor permeability (WVP) (0.021-0.027 g.m/m 2 .day.atm) and solubility (38.99-45.08 %) of the PPE-CH film significantly decreased (p≤0.05). It was also observed that the DPPH scavenging activity and reducing ferric capacity of the film increased with increasing PPE concentration (8.80-13.47 % and 21.01-232.55 g FE / g sample, respectively). | en |
dc.keyword | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_053.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น