กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4305
ชื่อเรื่อง: | การประเมินสถานการณ์การปนเปื้อนสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (พีเอเอช) ในสัตว์น้ำชายฝั่งทะเล บริเวณภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Situation assessment of contaminated Polycyclic Aromatic hydrocarbons (PAHs) in marine organisms from the Eastern coast |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ไพฑูรย์ มกกงไผ่ อาวุธ หมั่นหาผล วันชัย วงสุดาวรรณ สุกานดา ทับเมฆา มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล |
คำสำคัญ: | โพลิไซคลิกอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอน - - แง่สิ่งแวดล้อม สัตว์น้ำ - - การปนเปื้อน สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การปนเปื้อนของสารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (พีเอเอช) ในสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลบริเวณภาค ตะวันออก ทำการเก็บตัวอย่างหอยแมลงภู่ ตะกอนดินและปลาทะเลศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนมีนาคม 2560 พบความเข้มข้นของสารพีเอเอชรวม ที่สะสมในหอยแมลงภู่ขนาดเล็กในฤดูฝนโดยเฉลี่ย 2.692±2.294, 0.096±0.040 และ 0.002±0.007 ไมโครกรัม/กรัม (น้ำหนักแห้ง) ในหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่โดยเฉลี่ย 0.418±0.588, 0.027±0.021 และ 0.006±0.017 ไมโครกรัม/กรัม (น้ำหนักแห้ง) ในบริเวณอ่างศิลา ศรีราชาและมาบตาพุด ตามลำดับ ขณะที่ในฤดูแล้งพบ การสะสมสารพีเอเอชรวม ในหอยแมลงภู่ขนาดเล็กโดยเฉลี่ย 0.020±0.013, 0.010±0.006 และ 0.014±0.019ไมโครกรัม/ กรัม (น้ำหนักแห้ง) ในหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่โดยเฉลี่ย 0.011±0.008, 0.008±0.007 และ 0.003±0.005 ไมโครกรัม/กรัม (น้ำหนักแห้ง) บริเวณอ่างศิลา ศรีราชา และมาบตาพุดตามลำดับ ผลจากการศึกษาแสดงให้ทราบว่าฤดูกาล สถานที่และขนาดไม่มีอิทธิพลร่วมกันในการปนเปื้อนของสารพีเอเอช รวมในเนื้อเยื่อหอย และในฤดูฝนหอยแมลงภู่ขนาดเล็กบริเวณอ่างศิลามีการปนเปื้อนสารพีเอเอชรวม อยู่สูง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ตะกอนดินจากแหล่งเลี้ยงหอยแมลงภู่ทั้ง 3 พื้นที่ พบมีปริมาณของสารพีเอเอชรวม ปนเปื้อนในฤดูฝนโดยเฉลี่ย 0.019±0.031, 0.012±0.037 และ 0.028±0.032 ไมโครกรัม/กรัม (น้ำหนักแห้ง) ขณะที่ในฤดูแล้งพบการปนเปื้อนของสารพีเอเอชรวม โดยเฉลี่ย 0.000±0.004, 0.000±0.000 และ 0.006±0.004 ไมโครกรัม/กรัม (น้ำหนักแห้ง) ในบริเวณอ่างศิลา ศรีราชา และมาบตาพุด จังหวัดระยองตามลำดับ ผลการศึกษาแสดงให้ทราบว่าทั้งฤดูกาลและสถานที่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ การปนเปื้อนสารพีเอเอชรวม ในปลาทะเลบริเวณชายฝั่งอ่าวพร้าวของเกาะเสม็ด จังหวัดระยองจากตัวอย่างปลา 10 ชนิด ผลการศึกษาในฤดูฝน พบสารพีเอเอชรวม ปนเปื้อนโดยปริมาณเฉลี่ย 0.020±0.027 และ 0.007±0.008 ไมโครกรัม/กรัม (น้ำหนักแห้ง) ของแนวใกล้ฝั่งและห่างฝั่งตามลำดับ ขณะที่ในฤดูแล้ง พบปริมาณสารพีเอเอชรวม โดย เฉลี่ย 0.002±0.004 และ 0.045±0.096 ไมโครกรัม/กรัม (น้ำหนักแห้ง) ของแนวใกล้ฝั่งและห่างฝั่งตามลำดับ ผลการศึกษา แสดงให้ทราบว่าฤดูกาลมีผลต่อการปนเปื้อนสารพีเอเอชรวม ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยพบในฤดูแล้งปริมาณสูงกว่าในฤดูฝน ผลจากการศึกษาแสดงถึงระบบนิเวศทางทะเลมีการปนเปื้อนด้วยสารมลพิษโดยเฉพาะสารในกลุ่มปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนอยู่อย่างต่อเนื่องสถิติ อย่างไรก็ตามไม่พบสารพีเอเอชรวม ในกลุ่มที่ก่อให้เกิดมะเร็ง |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4305 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_184.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น