กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4294
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | เอกรัฐ คำเจริญ | |
dc.contributor.author | สุปรีณา ศรีใสคำ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร | th |
dc.date.accessioned | 2021-11-19T08:24:49Z | |
dc.date.available | 2021-11-19T08:24:49Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4294 | |
dc.description | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 | th_TH |
dc.description.abstract | กากมันสำปะหลังเป็นวัสดุเศษเหลือจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังซึ่งสามารถใช้เป็น วัตถุดิบในสร้างผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าผ่านกระบวนการหมัก กากมันสำปะหลังประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรตซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลด้วยการไฮโดรไลซิสและนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์โปรตีนสูงได้ การศึกษาความสามารถในการย่อยกากมันสำปะหลังภายใต้สภาวะการเลี้ยงเชื้อแบบแห้งของ Aspergillus oryzae TISTR 3102 และ Rhizopus oryzae TISTR 3522 พบว่า A. oryzae สามารถ ผลิตเอนไซม์อะไมเลส 69.53 U/g CP เอนไซม์ย่อยแป้งดิบ 19.06 U/g CP โปรตีน 27.35 mg/g CP และน้ำตาลรีดิวซ์ 47.07 mg/g CP ซึ่งมากกว่า R. oryzae ซึ่งผลิตเอนไซม์อะไมเลส 17.89 U/g CP เอนไซม์ย่อยแป้งดิบ 6.60 U/g CP โปรตีน7.59 mg/g CP และน้ำตาลรีดิวซ์ 2.77 mg/g CP ตามลาดับ การศึกษาการเพิ่มปริมาณโปรตีนในกากมันสำปะหลังเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ด้วยการหมัก แบบแห้งโดยการเลี้ยงรา A. oryzae ร่วมกับยีสต์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ C. tropicalis TISTR 5136, C. utilis TISTR 5032 and S. cerevisiae TISTR 5598 พ บ ว่า กา ร เ ลี้ย ง A. oryzae ร่ว ม กับ S. cerevisiae ทาให้กากมันสำปะหลังมีปริมาณโปรตีนร้อยละ 2.9 ซึ่งมากกว่าการเลี้ยง A. oryzae ร่วมกับยีสต์ชนิดอื่น การเลือกปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณโปรตีนของการหมักมันสาปะหลังแบบแห้งด้วย A. oryzae ร่วมกับ S. cerevisiae โดยใช้การออกแบบการทดลองด้วย Plackett-Burman พบว่า ระยะเวลาการเลี้ยงเชื้อ ราข้าว ยูเรีย แอมโมเนียมคลอไรด์ และโพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต ให้ผลเชิงบวกต่อปริมาณโปรตีน จากการทดลองพบว่าปริมาณโปรตีนสูงสุดที่ได้คือร้อยละ 6.64 ซึ่ง เพิ่มขึ้น 3.69 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับกากมันสำปะหลังแห้ง การศึกษาเปรียบเทียบผลการทดแทนกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ด้วยในสูตรอาหารข้น 16%CP ที่ระดับ 0, 10, 20 และ 30% (DM basis) ต่อกระบวนการหมักในรูเมนและสมรรถนะการ ผลิตของแพะเนื้อ การศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1 การศึกษาเบื้องต้น และ 1 การทดลอง คือ 1.1) การศึกษาเบื้องต้นถึงองค์ประกอบทางเคมี พบว่า คุณค่าทางโภชนะของกากมันสำปะหลังมี องค์ประกอบทางเคมีเหมาะสมที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบแหล่งพลังงานในสูตรอาหารได้ 1.2) การทดลอง ที่ 1 ศึกษาผลการใช้กากมันสำปะหลังหมักที่มีคุณภาพในแต่ละระดับของสูตรอาหารข้นแพะเนื้อต่อ กระบวนการหมักในรูเมนและสมรรถนะการผลิต จัดแผนการทดลองแบบ Random Complete Block Design (RCBD) ใช้แพะเนื้อลูกผสมพันธุ์พื้นเมืองและแองโกลนูเบียน จำนวน 16 ตัว อายุ ประมาณ 1-2 ปี น้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้นประมาณ 12-13 กิโลกรัม โดยมีการบันทึกน้ำหนักตัวก่อนเริ่ม เข้างานทดลอง ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ปรับสัตว์เป็นระยะเวลา 10 วัน โดยที่กลุ่มการทดลองที่ 1 (อาหารกลุ่มควบคุม) กลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุม (อาหารข้นผสมสาเร็จรูป 16% โปรตีน (CP)) ร่วมกับอาหารหยาบ คือ อัลฟาฟ่าแห้งชนิดอัดเม็ดแบบเต็มที่ โดยไม่มีการให้กากมันสำปะหลังโปรตีน สูง และกลุ่มที่ 2, 3 และ 4 (อาหารกลุ่มควบคุม) (อาหารข้นผสมสำเร็จรูป 16%CP) ทดแทนด้วยกาก มันสาปะหลังโปรตีนสูงในสูตรที่ระดับ 10, 20 และ 30% (DM basis) ร่วมกับอาหารหยาบ คือ อัลฟา ฟ่าแห้งชนิดอัดเม็ดแบบเต็มที่ พบว่า แพะกลุ่มที่ได้รับกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ทดแทนในสูตร อาหารข้นเพียงระดับ 20% (DM basis) สามารถกระตุ้นการเพิ่มน้าหนักตัวได้สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับกาก มันสำปะหลังหมักยีสต์ทดแทนในสูตรอาหารข้นที่ระดับ 30% (DM basis) กระตุ้นและปรับสมดุล จุลินทรีย์ในกระเพาะหมัก โดยไม่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อสมรรถนะการผลิต | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว | th_TH |
dc.subject | มันสำปะหลัง - - การผลิต - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | อาหาร | th_TH |
dc.subject | อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | การผลิตโปรตีนเซลล์เดียวจากกากมันสำปะหลังเพื่อทดแทนสารประกอบโปรตีนในอาหารแพะเนื้อ | th_TH |
dc.title.alternative | Single cell protein production from cassava pulp to replace protein in meat goat diets | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | agratk@go.buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | supreena.sr@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2561 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Cassava pulp is the major solid residues as a byproduct of cassava starch manufacturing which was used as substrate for animal feedstock. The cassava pulp containing carbohydrate can be converted to sugar by hydrolysis process and further produced protein-enriched feed. In this study, Aspergillus oryzae TISTR 3102 and Rhizopus oryzae TISTR 3522 were compared for use in the hydrolysis process under solid state cultivation. The result showed that A. oryzae gave higher amylase (69.53 U/g CP), raw starch digesting enzyme (19.06 U/g CP), protein (27.35 mg/g CP), and reducing sugar yield (47.07 mg/g CP) than R. oryzae releasing of 17.89 U/g CP, 6.60 U/g CP, 7.59 mg/g CP and 2.77 mg/g CP, respectively. Evaluation of the protein-enrichment feed produced by solid state fermentation (SSF) of the cassava pulp using co-culture cultivation of A. oryzae and various yeasts (C. tropicalis TISTR 5136, C. utilis TISTR 5032 and S. cerevisiae TISTR 5598) was carried out. The protein content of the fermented cassava pulp from a co-culture of A. oryzae and S. cerevisiae was highest (2.9%, w/w) among the examined strains. The screening of ten factoring affecting on protein content through solid state co-fermentation of cassava pulp using A. oryzae and S. cerevisiae was achieved using Plackett-Burman design (PBD). The result showed that incubation time, rice bran, urea, NH4Cl and KH2PO4 gave the positive effect on soluble and insoluble protein content. The maximum protein yield of 6.64% was achieved from the experiment which reflects about 3.69 fold comparing to dried cassava pulp. The present research aimed to study the supplementation of fermented cassava pulp with yeast of concentrate for crossbred meat goats (Native x Anglo Nubian). This study comprised 1 sections and 1 research experiment. The first section was conducted to determine the preliminary study of chemical composition, increasing protein in cassava pulp using A. oryzae and S. cerevisiae. The latter section was designed to investigate in the experiments. The experiment aimed to determine a suitable method of fermenting cassava pulp using fungi and yeasts. The results showed that the nutritional value of fermented cassava pulp has the appropriate chemical composition to be used as a source of energy in the diet. The experiment was carried out to investigate the effect of different level of fermented cassava pulp in concentrates diets on rumen fermentation and productive performances of meat goat. This experiment was designed in Random Complete Block Design. Sixteen crossbred meat goats (Native x Anglo Nubian), averaging 1 to 2 years old and average 12 to 13 kg body weight that was recorded live weight (LW) before the start of the trial. The experiment lasted 90 days that the first 10 days were considered as adaptation period. The first group was fed 0% fermenting cassava pulp concentrate, the second, third and fourth group were fed 10, 20 and 30% fermenting cassava pulp (DM basis) concentrate respectively. All goats received ad libitum alfalfa dehydrated pellet as roughage were individually fed each treatment. The present study clearly indicates that fed 20% fermented cassava pulp could effectively replace concentrate, significantly higher than that of 30% fermented cassava pulp ( DM basis), and also stimulate and balance microorganisms in rumen ecology with negatively affect the productive performances. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_015.pdf | 3.76 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น