กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4287
ชื่อเรื่อง: การทบทวนและปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่การเป็นประเทศอาเซียนในจังหวัดระยอง : กรณีการปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตมาบตาพุด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Review and development strategy adjustment of Eastern Seaboard development program toward Asean Country in Rayong Province : the case of industrial development strategy adjustment in Map Ta Phut Area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัยณรงค์ เครือนวน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: ชายฝั่งทะเลตะวันออก - - ไทย
อุตสาหกรรม - - การพัฒนา
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ การพัฒนาอุตสาหกรรมและผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อเสนอแนวทางและมาตรการ เชิงนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด แนวคิดทฤษฎีที่ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา ครั้งนี้ คือ แนวคิดการพัฒนา ผลการศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่า การเกิดขึ้นของการพัฒนาอุตสาหกรรมใน พื้นที่มาบตาพุด เปรียบเสมือนการผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดอุดมการณ์แบบทุนนิยมที่มีภาคอุตสาหกรรม เป็นจักรกลในการขับเคลื่อน นับตั้งแต่กลางทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา กล่าวได้ว่า การพัฒนา อุตสาหกรรมภายใต้ตัวแบบมาบตาพุด มีพัฒนาการอยู่ 4 ช่วงใหญ่ ๆ คือ ยุคแรก เป็นการพัฒนา อุตสาหกรรมยุคเริ่มต้นโดยมีรัฐและกลไกรัฐ เป็นผู้มีบทบาทนำในการพัฒนา ยุคสอง เป็นการพัฒนา อุตสาหกรรมยุคทะยานขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนย้ายทุนและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ยุคสาม เป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมท่ามกลางวิกฤติสิ่งแวดล้อม และยุคที่สี่ เป็นการพัฒนา อุตสาหกรรมยุคระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก กล่าวได้ว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและ ผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการพัฒนา อุตสาหกรรมทุกภาคส่วน ความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบดังกล่าว มีผลต่อปฏิกิริยาและปฏิบัติการ ทางสังคมหลากหลายรูปแบบ ดังกรณีกลุ่มทุนในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการขับเคลื่อนการพัฒนา อุตสาหกรรมในพื้นที่ต่อไป เพราะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรง ขณะที่กลุ่มทุนนายท้องถิ่นต้องการ ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายในกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมประนีประนอม ซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกับกลุ่มชนชั้นนำท้องถิ่นที่พยายามต่อรอง เพื่อเรียกร้องผลประโยชน์จากโรงงาน อุตสาหกรรม ขณะที่กลุ่มผู้ผลิตอิสระรายย่อยในภาคเกษตรกรรมต้องการสร้างการดำรงอยู่ของ การผลิตในภาคเกษตรกรรมท่ามกลางการปิดล้อมของการผลิตในภาคอุตสาหกรรม หรือกลุ่มผู้บริการ รายย่อยที่พยายามสร้างความอยู่รอดท่ามกลางวิถีการผลิตในภาคอุตสาหกรรม จากสถานการณ์และสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด ผู้วิจัย เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจ้าเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาในพื้นที่มาบตาพุด ใหม่ เช่น การให้ความสำคัญกับกระบวนทัศน์การพัฒนาในรูปแบบของการกระจายรายได้ควบคู่กับ ความเจริญเติบโต การสร้างความสมดุลภายใต้กระบวนการพัฒนา การให้ความส้าคัญแนวคิดการมี ส่วนร่วมในการพัฒนา เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องมีการสร้างมาตรการเชิงปฏิบัติเพื่อการขับเคลื่อน การพัฒนาอุตสาหกรรม เช่น การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการสิ่งแวดล้อม การปฏิรูป ระบบการจัดเก็บภาษี รวมทั้งการออกกฎหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดเก็บ ภาษีสิ่งแวดล้อม การสร้างและปรับปรุงมาตรการเพื่อป้องกันปัญหามลพิษจากการพัฒนาอุตสาหกรรม เป็นต้น
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4287
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_008.pdf3.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น