กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4287
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชัยณรงค์ เครือนวน | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | th |
dc.date.accessioned | 2021-11-19T02:52:19Z | |
dc.date.available | 2021-11-19T02:52:19Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4287 | |
dc.description | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 | th_TH |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ การพัฒนาอุตสาหกรรมและผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อเสนอแนวทางและมาตรการ เชิงนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด แนวคิดทฤษฎีที่ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา ครั้งนี้ คือ แนวคิดการพัฒนา ผลการศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่า การเกิดขึ้นของการพัฒนาอุตสาหกรรมใน พื้นที่มาบตาพุด เปรียบเสมือนการผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดอุดมการณ์แบบทุนนิยมที่มีภาคอุตสาหกรรม เป็นจักรกลในการขับเคลื่อน นับตั้งแต่กลางทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา กล่าวได้ว่า การพัฒนา อุตสาหกรรมภายใต้ตัวแบบมาบตาพุด มีพัฒนาการอยู่ 4 ช่วงใหญ่ ๆ คือ ยุคแรก เป็นการพัฒนา อุตสาหกรรมยุคเริ่มต้นโดยมีรัฐและกลไกรัฐ เป็นผู้มีบทบาทนำในการพัฒนา ยุคสอง เป็นการพัฒนา อุตสาหกรรมยุคทะยานขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนย้ายทุนและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ยุคสาม เป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมท่ามกลางวิกฤติสิ่งแวดล้อม และยุคที่สี่ เป็นการพัฒนา อุตสาหกรรมยุคระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก กล่าวได้ว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและ ผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการพัฒนา อุตสาหกรรมทุกภาคส่วน ความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบดังกล่าว มีผลต่อปฏิกิริยาและปฏิบัติการ ทางสังคมหลากหลายรูปแบบ ดังกรณีกลุ่มทุนในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการขับเคลื่อนการพัฒนา อุตสาหกรรมในพื้นที่ต่อไป เพราะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรง ขณะที่กลุ่มทุนนายท้องถิ่นต้องการ ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายในกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมประนีประนอม ซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกับกลุ่มชนชั้นนำท้องถิ่นที่พยายามต่อรอง เพื่อเรียกร้องผลประโยชน์จากโรงงาน อุตสาหกรรม ขณะที่กลุ่มผู้ผลิตอิสระรายย่อยในภาคเกษตรกรรมต้องการสร้างการดำรงอยู่ของ การผลิตในภาคเกษตรกรรมท่ามกลางการปิดล้อมของการผลิตในภาคอุตสาหกรรม หรือกลุ่มผู้บริการ รายย่อยที่พยายามสร้างความอยู่รอดท่ามกลางวิถีการผลิตในภาคอุตสาหกรรม จากสถานการณ์และสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด ผู้วิจัย เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจ้าเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาในพื้นที่มาบตาพุด ใหม่ เช่น การให้ความสำคัญกับกระบวนทัศน์การพัฒนาในรูปแบบของการกระจายรายได้ควบคู่กับ ความเจริญเติบโต การสร้างความสมดุลภายใต้กระบวนการพัฒนา การให้ความส้าคัญแนวคิดการมี ส่วนร่วมในการพัฒนา เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องมีการสร้างมาตรการเชิงปฏิบัติเพื่อการขับเคลื่อน การพัฒนาอุตสาหกรรม เช่น การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการสิ่งแวดล้อม การปฏิรูป ระบบการจัดเก็บภาษี รวมทั้งการออกกฎหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดเก็บ ภาษีสิ่งแวดล้อม การสร้างและปรับปรุงมาตรการเพื่อป้องกันปัญหามลพิษจากการพัฒนาอุตสาหกรรม เป็นต้น | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ชายฝั่งทะเลตะวันออก - - ไทย | th_TH |
dc.subject | อุตสาหกรรม - - การพัฒนา | th_TH |
dc.subject | สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ | th_TH |
dc.title | การทบทวนและปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่การเป็นประเทศอาเซียนในจังหวัดระยอง : กรณีการปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตมาบตาพุด | th_TH |
dc.title.alternative | Review and development strategy adjustment of Eastern Seaboard development program toward Asean Country in Rayong Province : the case of industrial development strategy adjustment in Map Ta Phut Area | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | chainarong@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2560 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This is a qualitative research aiming to study the alternatives for industrial development proposed by the public sector and state mechanisms, by the private sector, and by the popular sector. This research is also intended to compare them and find common agreement between each alternative. In this study, the alternative development theories were used as a tool. Study results indicate that the alternatives for industrial development proposed by the public and private sectors aimed at achieving economic growth as well as striving to become more environmentally friendly and more socially responsible. Their objectives were to push the industrial development in the Eastern Seaboard area forward. On the other hand, alternatives for industrial development proposed by the popular sector or the people who live in the factory areas were different in terms of their methods and issues of concern. When considering their overall objectives, it reveals that they wanted to create conditions in order to distribute benefits from the industrial development. But for the people who live far from the heavily developed industrial areas, they proposed that the development strategies that are suitable for their vernacular landscapes and the industrial development zones need to be established clearly. It can be concluded that the alternatives for industrial development proposed by these different stakeholders are the alternative development under a reform movement. They didn’t turn down the mainstream development completely, but chose to start discoursing about things instead. The subjects like sustainability, responsibility, social justice, and environment have been added into the capital development process in the form of discursive practices and they were represented as green capitalism or participatory development and human development which focuses on people-centered approaches. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_008.pdf | 3.17 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น