กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4282
ชื่อเรื่อง: การทบทวนและปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่การเป็นประเทศอาเซียนในจังหวัดนครนายก: กรณีการจัดการพื้นที่สีเขียวในบริบทอุตสาหกรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Review and development strategy adjustment of Eastern Seaboard Development Program toward Asean Country in NakornNayok Province : the case of greenspace management in industrial context
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัชชนก สัตยวินิจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: ชายฝั่งทะเลตะวันออก - - ไทย
โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทบทวนยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่สีเขียวในจังหวัด นครนายกที่ผ่านมา และวิเคราะห์การเคลื่อนไหวเพื่อปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่สีเขียวใน จังหวัดนครนายก รวมถึงนำเสนอทางเลือกทางยุทธศาสตร์ใหม่ในการคงไว้ของพื้นที่สีเขียวให้เป็นแบบ ยั่งยืน โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพผ่านการศึกษากรณีเฉพาะของจังหวัดนครนายก ผลการศึกษา พบว่า ยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่สีเขียวที่สำคัญในจังหวัดนครนายก ประกอบด้วย นโยบายการ พัฒนาเมือง (นโยบายเมืองน่าอยู่ นโยบายเมืองใหม่ และนโยบายจังหวัดอัจฉริยะ) และการจัดการผัง เมือง โดยยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่สีเขียวทั้งสองเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นจากการ กำหนดโดยรัฐส่วนกลางในลักษณะแบบบนลงล่าง จึงทำให้การพัฒนาและการบริหารจัดการพื้นที่สี เขียวในจังหวัดนครนายกที่ผ่านมา เกิดปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในระดับพื้นที่ และปัญหาแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นที่ขาดความเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในพื้นที่ การเคลื่อนไหวที่สำคัญของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เพื่อปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การ จัดการพื้นที่สีเขียวในจังหวัดนครนายก เกิดขึ้นในช่วงหลังผังเมืองรวมจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2555 โดยมีทิศทางการพัฒนาและการจัดการพื้นที่สีเขียวในจังหวัดนครนายกแบ่งอออกเป็น 2 แนวทาง สำคัญ ประกอบด้วย แนวการพัฒนาและกำหนดพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและการ ขยายตัวของเมือง และแนวทางการพัฒนาบนฐานการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติของ จังหวัดด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวของจังหวัด ส่วนข้อเสนอเสนอทางเลือกทางยุทธศาสตร์ใหม่ในการคงไว้ของพื้นที่สีเขียวให้เป็นแบบยั่งยืน แบ่งออกเป็น ส่วนที่หนึ่ง ข้อเสนอจากพื้นที่ พบว่า ต้องมีการปรับปรุงกระบวนการในการกำหนด การ ดำเนินการ และการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องกับแผนการพัฒนาและการจัดการผังเมือง ด้วยการเปิด โอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ และมีการคำนึงถึงการกลไกหรือระบบที่เข้ามา บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และส่วนที่สอง ข้อเสนอจากการพิจารณาเชิงทฤษฎี พบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้กระบวนการพัฒนา ต้องมีการแก้ไขด้วยการปรับเปลี่ยนค่านิยมและ แนวคิดในการพัฒนาร่วมกัน โดยควรมีการสร้างความร่วมมือเชิงสถาบันในรูปแบบใหม่ และสร้าง กลไกขึ้นมาจัดการเพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4282
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_003.pdf19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น