กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4268
ชื่อเรื่อง: สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น หลักคิดและความเป็นจริงทางสังคม: กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Community rights and natural resources management in locality, concepts and social reality: A case study Eastern Seaboard Area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิมพ์ประไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ชัยณรงค์ เครือนวน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: สิทธิชุมชน
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ -- การมีส่วนร่วมของประชาชน.
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พลวัตรของแนวคิดสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เงื่อนไขเชิงโครงสร้างที่มีผลต่อความสำเร็จ และปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดการจัดการทรัพยากรชายฝั่งในชุมชนที่เป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า พลวัตรของแนวคิดสิทธิชุมชน สามารถแบ่งเป็น 4 ช่วงความคิด คือ สิทธิชุมชนก่อนการสถาปนารัฐชาติ สิทธิชุมชนยุคสถาปนารัฐชาติ สิทธิชุมชนยุคการพัฒนา และสิทธิชุมชนที่ถูกรับรองโดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ส่วนเงื่อนไขเชิงโครงสร้างที่มีผลต่อความสำเร็จ ประกอบด้วยเงื่อนไขสำคัญ เช่น ความสามารถออกแบบสถาบันทางสังคมของชุมชน ความสามารถสร้างกติกาและบังคับใช้กติกากับผู้ใช้ประโยชน์ในชุมชน ความสามารถสร้าง กระชับ และขยายเครือข่าย เป็นต้น สำหรับสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ประกอบด้วย ผู้ใช้ประโยชน์ภายนอกไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกาของชุมชน ข้อจำกัดด้านองค์ความรู้ของชุมชน โครงสร้างอำนาจการจัดการทรัพยากรที่รัฐมีบทบาทเหนือกว่าชุมชน ความแตกต่างของกระบวนทัศน์การจัดการทรัพยากรระหว่างรัฐกับชุมชน การขาดกฎหมายลำดับรองที่รับรองการใช้สิทธิชุมชน ประสิทธิภาพของกระบวนการสอดส่อง ดูแล รวมทั้งความไม่เข้มแข็งและยั่งยืนของสถาบันทางสังคมที่ถูกจัดตั้งโดยชุมชน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4268
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
39-63.pdf421.04 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น