กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4220
ชื่อเรื่อง: แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลบนฐานความคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Educational management guidelines for digital intelligence development based on sufficiency economy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นุชจรี ลอยหา
พักตร์วิภา โพธิ์ศรี
อุทิศ บำรุงชีพ
มหาวิทยาลัยบูรพา. สาขาการศึกษา
คำสำคัญ: ความฉลาดทางดิจิทัล
การบริหารการศึกษา
เศรษฐกิจพอเพียง
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลบนฐานคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีรูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเชิงสำรวจ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 368 คน และกลุ่มตัวอย่างสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกคือ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลบนฐานคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 4 มิติ หรือ NUCH Dimensions ได้แก่ 1) N - Network for learning (การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี 2) U - Ubiquitous learning (การจัดสภาพแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกหนทุกแห่ง เพื่อพัฒนาให้มีความรู้คู่คุณธรรม) 3) C - Critical thinking (การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างความมีเหตุมีผล) 4) H - HyFlex sharing (การแบ่งปันการเรียนรู้โดยมีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับบริบทสังคมตามหลักความพอประมาณ)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4220
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
edusoc15n2p410-420.pdf624.97 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น