กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/420
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The influence of leader-member exchange,organizational fairness and organizational citizenship behavior on job performance of non official Burapha faculties
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิตการทำงาน
ประสิทธิผลองค์การ
พฤติกรรมองค์การ
มหาวิทยาลัยบูรพา - - อาจารย์ - - ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตามการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย ตัวแปรที่ศึกษาในโมเดลการวิจัยประกอบด้วย 4 ตัวแปร ได้แก่ การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และพฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การและผลการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2550 จำนวน 201 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์สถิติพื้นฐานและโปรแกรม LISREL 8.50 วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในโมเดลวิจัย ผลการวิจัยแสดงว่า ตัวแปรทั้ง 3 ประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงาน ของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย โดยตัวแปรทั้ง 3 สามารถใช้อธิบายความแปรปรวนของผลการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 89 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีจำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การและตัวแปรการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม ด้วยค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ. 90 และ .14 ตามลำดับ สำหรับตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การไปยังผลการปฏิบัติงาน ด้วยค่าอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ .25 และ .10 ตามลำดับ และหากพิจารณาจากค่าอิทธิพลรวมเรียงตามลำดับค่าอิทธิพล ได้แก่ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ด้วยค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ .90 .39 และ .10 ตามลำดับ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีเป็นสมาชิกต่อองค์การจึงเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อผลการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย ดังนั้นผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรส่งเสริมให้อาจารย์ในสังกัดของตนเกิดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การเพื่อนำไปสู่การสร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/420
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น