กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/420
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สฎายุ ธีระวณิชตระกูล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:51:48Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:51:48Z | |
dc.date.issued | 2551 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/420 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตามการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย ตัวแปรที่ศึกษาในโมเดลการวิจัยประกอบด้วย 4 ตัวแปร ได้แก่ การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และพฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การและผลการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2550 จำนวน 201 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์สถิติพื้นฐานและโปรแกรม LISREL 8.50 วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในโมเดลวิจัย ผลการวิจัยแสดงว่า ตัวแปรทั้ง 3 ประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงาน ของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย โดยตัวแปรทั้ง 3 สามารถใช้อธิบายความแปรปรวนของผลการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 89 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีจำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การและตัวแปรการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม ด้วยค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ. 90 และ .14 ตามลำดับ สำหรับตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การไปยังผลการปฏิบัติงาน ด้วยค่าอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ .25 และ .10 ตามลำดับ และหากพิจารณาจากค่าอิทธิพลรวมเรียงตามลำดับค่าอิทธิพล ได้แก่ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ด้วยค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ .90 .39 และ .10 ตามลำดับ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีเป็นสมาชิกต่อองค์การจึงเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อผลการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย ดังนั้นผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรส่งเสริมให้อาจารย์ในสังกัดของตนเกิดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การเพื่อนำไปสู่การสร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2550 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | คุณภาพชีวิตการทำงาน | th_TH |
dc.subject | ประสิทธิผลองค์การ | th_TH |
dc.subject | พฤติกรรมองค์การ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา - - อาจารย์ - - ความพอใจในการทำงาน | th_TH |
dc.title | อิทธิพลของการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย | th_TH |
dc.title.alternative | The influence of leader-member exchange,organizational fairness and organizational citizenship behavior on job performance of non official Burapha faculties | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2551 | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to analyze the influence of leader-member exchange, organizational fairness and organizational citizenship behavior on job performance of non-official Burapha faculties. Four variables in this research model were: leader-member exchange, organizational fairness, organizational citizenship behavior and job performance of non –official Burapha faculties. The sample, derived by means of multi-stage random sampling, consisted of 201 non-official Burapha faculties in academic year 2007. The research instrument was a rating scale questionnaire. Data were analyzed by SPSS. For descriptive statistics and LISREL 8.50 for Causal Relationship Model. Results indicated that three variables including leader-member exchange, organizational fairncess and organizational citizenship behavior influenced the job performance of the non-offical Burapha faculties. There three variables accounted for 89 percent of the variance in job performance. Two variables having a significant direct effect on job performances were organizational citizenship behavior and leader-member exchange, with coefficient at .90 and .14 respectively. In addition, the variable indirectly affected job performance of non-official Burapha faculties were leader-member exchange, and organizational fairness was found influencing through organizational citizenship behavior. Finally, organizational citizenship behavior, leader-member exchange and organizational fairness were found affecting job performance of non-official Burapha faculties with the overall influence at .90, .39 and .10 respectively. Oranizational citizenship behavior was the most significant variable affecting job performance of non-official Burapha faculties. Thus, organizational citizenship behavior among the faculties should be promoted by the university administrators to achieve good job performance throughout the organization. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น