กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4183
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการสาธารณภัยในเขตนิคมอุตสาหกรรม กรณีศึกษา : นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตีนิคมแหลมฉบัง และนิคมปิ่นทอง จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Model for managing public disaster in industrial estates. Case study of : Amata Nakorn Industrial Estate, Laem Chabang Industrial Estate and Pinthong Industrial Estate Chonburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อาทิตย์ คชชา สุชนนี เมธิโยธิน มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ภัยพิบัติ การจัดการภาวะฉุกเฉิน การบรรเทาสาธารณภัย |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการสาธารณภัย ที่ใช้กำหนดเป็นแนวทางการบริหารงานในการจัดการสาธารณภัยร่วมกัน ในเขตนิคมอุตสาหกรรม ที่ตั้งอยู่ในนิคมอมตะซิตี้ ชลบุรี นิคมแหลมฉบัง นิคมปิ่นทอง จังหวัดชลบุรี ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยศึกษาจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการสาธารภัยในนิคมอุตสาหกรรม ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 คน เมื่อได้ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ แล้วจะนำมาใช้เป็นแนวทางการสร้างแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 217 คน การวิเคราะห์เชิงปริมาณแปลค่าด้วย ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้การทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุถดถอย (Multiple Regression Analysis : MRA) ผลการวิจัยพบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการป้องกันสาธารณภัย ในเขตนิคมอุตสาหกรรม ใน 3 อันดับแรก พบว่า การมีส่วนร่วมในการป้องกันสาธารณภัยในเขตนิคมอุตสาหกรรม และการบริหารจัดการสาธารณภัย โดยรวมเฉลี่ยทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การมีส่วนร่วมโดยรวม มีความสัมพันธ์ค่อนข้างสูงกับการบริหารจัดการสาธารณภัย เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การมีส่วนร่วม ด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร ด้านการเกี่ยวข้องกับการป้องกันสาธารณภัย ด้านการร่วมมือ และด้านการเสริมอำนาจแก่ประชาชน มีอิทธิพลกับการบริหารจัดการสาธารณภัย ที่ระดับ 0.05 โดยผลจากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนางานสาธารณภัยต่าง ๆ ได้ อาทิเช่น การจัดทำแผนนโยบาย/จัดระบบบัญชาการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน การจัดประชุมร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การรวมตัวกันของโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการจัดการสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4183 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
mba15n1p104-119.pdf | 882.13 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น