กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/406
ชื่อเรื่อง: | การประยุกต์ใช้พืชน้ำในการจัดการน้ำเสียในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Application of aquatic plants on thed waste management in the black tiger shrimp pond |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ กุลยา ลิ้มรุ่งเรืองกุล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การบำบัดโดยพืช กุ้งกุลาดำ - - การเลี้ยง กุ้งกุลาดำ - - วิจัย น้ำเสีย - - การบำบัด บ่อเลี้ยงกุ้ง สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2548 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ในปัจจุบันการเลี้ยงกุ้งกุลาดำได้มีการเลี้ยงอย่างกว้างขวางและมีการปล่อยน้ำทิ้งจากฟาร์มกุ้งในปริมาณที่มากลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการบำบัดน้ำทิ้งเหล่านั้นก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อต้องการทราบแนวทางการใช้พืชน้ำเศรษฐกิจที่พบทั่วไปในการบำบัดน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ผักบุ้ง ผักกระเฉดและกระจับได้นำมาใช้ในการบำบัดน้ำทิ้งเนื่องจากราคาถูก โยทำการใส่พืชน้ำเหล่านี้ในปริมาณ 300 กรัมลงไปในบ่อทดลองขนาด 100 ลิตร ที่มีดินและน้ำจากบ่อเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำและทดลองเป็นเวลา 28 วัน ผลการทดลองพบว่ากระจับมีประสิทธิภาพสูงสุดใฝนการลดปริมาณ BOD, ความขุ่น, แอมโมเนีย,ไนไทรต์,ไนเตรต และฟอสเฟตมีค่า 90%, 91.7%, 67.9%, 53.2%, 98% และ 70.5 % ตามลำดับ นอกจากนี้กระจับมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีกว่าผักบุ้งและผักกะเฉด อย่างไรก็ตามพืชน้ำทั้ง 3 ชนิดช่วยทำให้คุณภาพน้ำดีกว่าบ่อควบคุมที่ไม่ใส่พืชน้ำโยฉพาะค่าพีเอช ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในนน้ำและอุณหภูมิ งานวิจับยนี้แสดงให้เห็นว่ากระจับเป็นพืชน้พที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาบำบัดน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเนื่องจากประสิทธิภาพการบำบัดสูงและเป็นพืชน้ำเศรษฐกิจที่มีราคาสูง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/406 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น