กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4058
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาแบคทีเรียที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและการฟื้นฟูสภาพที่ปนเปื้อนด้วยสารกลุ่มปิโตรเคมี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of biosurfactant producing bacteria for application of petroleum industry and bioremediation of petroleum materials |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ แบคทีเรีย อุตสาหกรรมปิโตรเลียม สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาแบคทีเรียที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ปิโตรเลียมและการฟื้นฟูสภาพที่ปนเปื้อนด้วยสารกลุ่มปิโตรเคมี ในปีที่ 3 ทำการศึกษาถึงผลของ แหล่งคาร์บอน ไนโตรเจน ค่าความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิ ความเค็ม และความเข้มข้นของหัวเชื้อที่ เหมาะสมต่อการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจากแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ SE1 และทำ การตรวจวัดปริมาณสารลดแรงตึงผิวชีวภาพวิธี Oil displacement test รวมทั้งทำการศึกษาถึง ปริมาณและค่าความตึงผิวของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพกลุ่มลิโปเปปไทด์ที่ผลิตได้จากแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SE1 โดยเครื่อง High Performance Liquid Chromatography (HPLC) และ เครื่อง Surface Tension Meter ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมต่อ การผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพของแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SE1 ได้แก่ อาหารเลี้ยงเชื้อ Mineral salt medium ที่เติม 1% (v/v) น้ำตาลกลูโคส ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 7 ค่าความ เค็มของอาหารเลี้ยงเชื้อ 0% โซเดียมคลอไรด์ ความเข้มข้นของหัวเชื้อ 108 CFU/mL และบ่มที่ อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ในการเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SE1 พบว่ามีการผลิต สารลดแรงตึงผิวชีวภาพกลุ่มลิโปเปปไทด์ เท่ากับ 66.00 1.54 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีค่าความตึงผิวอยู่ระหว่าง 32.35 มิลลินิวตันต่อเมตร ถึง 24.87 มิลลินิวตันต่อเมตร โดยมีความเข้มข้นต่ำสุดของ สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ทำให้เกิดการฟอร์มตัวของไมเซลล์ที่ความเข้มข้นของส่วนใสเท่ากับ 7.11% และมีความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิวกลุ่มลิโปเปปไทด์ที่พบในส่วนใสเท่ากับ 4.69 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นพบว่าแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SE1 น่าจะเป็นแบคทีเรียที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการ ฟื้นฟูสภาพในสิ่งแวดล้อมและนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการ Oil recovery ในบ่อเก็บกักน้ำมันโดย วิธีการที่เรียกว่า Biostimulation ด้วยสภาวะที่เหมาะสมจากการศึกษาในครั้งนี้ |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4058 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_228.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น