กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4054
ชื่อเรื่อง: การสังเคราะห์และการวิเคราะห์เส้นใยนาโนซิงค์ออกไซด์ด้วยเทคนิค การปั่นเส้นใยนาโนด้วยไฟฟ้าสถิต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Synthesis and characterization of ZnO nanofibers by electrospinning technique
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กัญจน์ชญา หงส์เลิศคงสกุล
จิราภรณ์ พงษ์โสภา
ภัททิรา หอมหวน
ดุสิต งามรุ่งโรจน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: เส้นใย - - การผลิต - - วิจัย
เส้นใยนาโน
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: เส้นใยนาโนซิงค์ออกไซด์จะสังเคราะห์ด้วยเทคนิคการปั่นเส้นใยนาโนด้วยไฟฟ้าสถิต เส้นใยนาโนของสารละลาย ZnAc:PVA ที่อัตราส่วนความเข้มข้นของสารละลาย ZnA:PVA ที่แตกต่างกันคือ (2:2) (3:2) (4:2) (5:2) และ (6:2) จะปั่นลงบนแผ่นรองรับ ในการปั่นจะใช้ความต่างศักย์ที่แตกต่างกันคือ 16 18 20 22 และ 24 kV และระยะห่างระหว่างปลายเข็มกับแผ่นโลหะรองรับที่แตกต่างกันคือ 12 13 14 และ 15 cm เส้นใยนาโนที่ปั่นได้จะนำไปอบที่อุณหภูมิที่แตกต่างกันคือ 450 500 550 และ 600๐C เส้นใยนาโนซิงค์ออกไซด์ที่ได้ทั้งหมดจะนำไปวิเคราะห์สมบัติทางโครงสร้าง ทางแสง และทางไฟฟ้า การวัดลักษณะทางสัณฐานของเส้นใยนาโนซิงค์ออกไซด์ด้วยเครื่อง Scanning Electron Microscope (SEM) พบว่าเส้นใยที่ได้ทั้งหมดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในระดับนาโนเมตร โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่พบในช่วง 25-530 นาโนเมตร ลักษณะทางโครงสร้างผลึกที่ศึกษาด้วยเทคนิค X-ray Diffraction (XRD) ยืนยันว่า เส้นใยที่ได้เป็นเส้นใยนาโนซิงค์ออกไซด์ เนื่องจากมีผลึกของซิงค์ออกไซด์ ค่าการส่องผ่านแสงเฉลี่ยในช่วงแสงที่ตามองเห็นของเส้นใยนาโนซิงค์ออกไซด์ที่ได้มีค่าสูงกว่า 85% ค่าแถบพลังงานแสงและค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าของเส้นใยนาโนซิงค์ออกไซด์มีค่าอยู่ในช่วง 2.73-3.26 eV และ 113-186 Ωm ตามลำดับ
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4054
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_224.pdf1.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น