กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4044
ชื่อเรื่อง: | การประกอบคืนสภาพจากภาพกระดูกสันหลังสองมิติเป็นภาพสามมิติเพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยทางคลินิกและการคำนวณมวลกระดูกแบบอัตโนมัติ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | 2 Dimension vertebral bone image reconstruction into 3 dimension for supporting clinical analysis and bone mass automatic calculation |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวรรณา รัศมีขวัญ กฤษณะ ชินสาร ภูสิต กุลเกษม เบญจภรณ์ จันทรกองกุล จรรยา อ้นปันส์ อลิสรา วงศ์สุทธิเลิศ อัณณ์นุพันธ์ รอดทุกข์ ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ วัชรพงศ์ อยู่ขวัญ ศิวกรณ์ อาจรักษา เสาวลักษณ์ ธรรมนาวาศ จิราภรณ์ วงวาล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาการสารสนเทศ |
คำสำคัญ: | การสร้างแบบจำลองสามมิติ กระดูกสันหลัง สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ซอฟต์แวร์วัดมวลกระดูก |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การแบ่งส่วนข้อของกระดูกสันหลังในเพื่อวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความหนาแน่นของมวลกระดูกลดน้อยลง ทำให้กระดูกเสื่อม เปราะบางและแตกหักง่ายและกระดูกจะไม่สามารถทำงานหรือเคลื่อนไหวได้อย่างตามปกติ ซึ่งในปัจจุบันมีงานวิจัยทางด้านเทคนิคการประมวลผลภาพที่เสนอวิธีการแบ่งส่วนข้อของกระดูกสันหลัง ในโครงการวิจัยจึงนำเสนอขั้นตอนวิธีการแบ่งส่วนข้อกระดูกสันหลังในภาพถ่ายรังสีเอกซ์ เพื่อช่วยสนับสนุนในการตัดสินใจของแพทย์ ขั้นตอนวิธีที่นำเสนอมีด1วยกันทั้งหมด 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นตอนการเตรียมภาพ (Image Pre-processing) เพื่อให้ง่ายต่อการประมวลผลภาพ, ขั้นตอนการแบ่งส่วนข้อของกระดูกสันหลัง (Segmentation) ซึ่งในขั้นตอนการแบ่งส่วนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนย่อยคือ การแบ่งส่วนในแนวนอน (Vertical) และการแบ่งส่วนในแนวตั้ง (Horizontal) เพื่อแบ่งส่วนข้อของกระดูกสันหลังในแนวตั้งและแนวนอน ในขั้นตอนสุดท้ายเปjนขั้นตอนการเลือกตำแหน่งที่สนใจ (Prediction) เพื่อเลือกตำแหน่งที่คาดว่าน่าจะเปjนบริเวณข้อกระดูก จากผลการทดลองพบว่าการนำเอาเทคนิคด้านการประมวลผลภาพ เข้ามาใช้ในการแยกส่วนของภาพถ่ายกระดูกสันหลังที่มีคุณภาพต่ำเพื่อนำภาพไปตรวจสอบหรือพยากรณ์โรคกระดูก โดยผ่านขั้นตอนวิธีที่มาทางผู้วิจัยได้นำเสนอ และหลังจากได้ผลลัพธ์จากกระบวนการแยกส่วนของกระดูกสันหลังแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงส่วนของผลลัพธ์ จากผลการทดลองที่ได้จะสามารถนำไปช่วยเหลือในการแนะนำผู้เชี่ยวชาญในการลดเวลาที่ใช้ในส่วนของการวาดขอบเขตของกระดูกสันหลังได้มากยิ่งขึ้น |
รายละเอียด: | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4044 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_214.pdf | 11.81 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น