กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4027
ชื่อเรื่อง: รูปแบบของการสร้างฉันทามติชุมชนเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Forming of consensus-building in Map Ta Put Community Industrials Area Rayong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนิต โตอดิเทพย์
สกุล อ้นมา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: อุตสาหกรรม - - การพัฒนา
ชายฝั่งทะเลตะวันออก - - ไทย - - การพัฒนา
ชายฝั่ง - - ไทย - - ระยอง
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง “รูปแบบของการสร้างฉันทามติชุมชนเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนผ่าน กระบวนการและรูปแบบของการสร้างฉันทามติของชุมชนในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการของชุมชนอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยองสามารถแบ่งออกเป็นสองช่วงใหญ่ ๆ คือ การผลิตแบบดั้งเดิมเป็นผลิตโดยอาศัยวัตถุดิบทางเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปอย่างง่าย ภายหลังการสร้างถนนสุขุมวิทชุมชนเริ่มมีการปรับเปลี่ยนเข้าสู่การผลิตแบบใหม่ควบคู่ไปกับการผลิตแบบดั้งเดิม ชุมชนในยุคของการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกที่ไม่สัมพันธ์อยู่กับเกี่ยวภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในท้องถิ่น เนื่องจากเป็นการขับเคลื่อนของกลุ่มทุนหลักสามกลุ่มคือ กลุ่มรัฐ กลุ่มนายทุนต่างชาติและกลุ่มนายทุนชาติ รูปแบบและกระบวนการสร้างฉันทามติควรประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทในการกำหนดและวางแผนทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม หน่วยงานภาคเอกชนจะต้องมีบทบาทในการวางแผนการดำเนินกิจกรรมการประกอบการของตนให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและภาคประชาชนจะต้องมีพื้นที่สาธารณะเพื่อเปิดโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็น และเจตจำนงความต้องการขั้นพื้นฐานเพื่อการอยู่ร่วมกันทางสังคม
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4027
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_190.pdf1.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น