กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4012
ชื่อเรื่อง: | ตัวแปรการทำนายการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Predictable Factors Toward Disease Prevention and Health Promotion of Industrial Workers in Eastern Region |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กุหลาบ รัตนสัจธรรม วิไล รัตนสัจธรรม |
คำสำคัญ: | โรค - - การป้องกันและควบคุม โรงงาน - - มาตรการความปลอดภัย - - ไทย (ภาคตะวันออก) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2542 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ในแนวทางการวิจัยเชิงคาดคะเน เพื่อศึกษาหาตัวแปรทำนายการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นคนงาน ในโรงงานอุตสาหกรรมภาคตะวันออก จำนวน 1,079 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และผ่านการทดลองใช้มาแล้ว ได้ค่าความเที่ยงของตัวแปรต่าง ๆ อยู่ระหว่าง .69-.86 หลังจากเก็บข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน อัตราส่วน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอนได้ผลการวิจัยดังนี้ตัวแปรที่สำคัญที่มีส่วนทำนายเกือบทุกพฤติกรรม คือ หน่วยงานมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและจัดตรวจสุขภาพ การฟังรายการเกี่ยวกับสุขภาพ สถานภาพสมรส และความพอใจที่ได้ทำงานในหน่วยงานนี้และพบว่าสมการทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพที่สามารถทำนายได้ มากกว่าร้อยละ 10 มีดังนี้คือ1. ตัวแปรทำนายพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถ ที่สามารถทำนายได้ร้อยละ 13.57 สามารถเขียนเป็นสมการทำนายได้ดังนี้ คือ X1 = 5.938 - .496 (ดื่มเบียร์ไทยเกิน 2 แก้ว ) + .051 (อายุ) + .271 (หน่วยงานมีการจัดตรวจสุขภาพ) + .00004 (รายได้) + .211 (หัวหน้างานพูดเตือนเรื่องสุขภาพ) -.249 (เพื่อนร่วมงานมีอาการเจ็บป่วยบ่อย) -.175 (สูบบุหรี่มากกว่า 10 มวนต่อวัน) + .386 (สถานภาพสมรสคู่)2. ตัวแปรทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคการตรวจสุขภาพ ที่สามารถทำนายได้ร้อยละ 25.19 สามารถเขียนเป็นสมการทำนายได้ดังนี้คือ X2 = -2.940 + 1.145 (หน่วยงานมีการจัดตรวจสุขภาพ) + .071 (อายุ) + .00006 (รายได้) + .414 (พอใจที่ได้ทำงานใหม่ในหน่วยงานนี้) + .422 (ฟังรายการเกี่ยวกับสุขภาพ) + .781 (สถานภาพสมรสคู่) + .617 (มีเพศสัมพันธ์กับหญิงอาชีพพิเศษโดยไม่สวมถุงยางอนามัย)3. ตัวแปรทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคโดยรวม ที่สามารถทำนายได้ร้อยละ 25.61 สามารถเขียนเป็นสมการทำนายได้ดังนี้ คือ X3 = 7.783 + 1.345 (หน่วยงานมีการจัดตรวจสุขภาพ) + .104 (อายุ) + .908 (เคยฟังการเกี่ยวกับสุขภาพ) + 1.712 (สถานภาพสมรสคู่) + .00009 (รายได้ + .867 (หน่วยงานมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ) + .482 (การมีความสุขในการดำเนินชีวิตประจำวัน) - .395 (รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง) + .406 (มีคนในครอบครัวเตือนเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ)4. ตัวแปรทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการพักผ่อน ที่สามารถทำนายได้ร้อยละ 11.95 สามารถเขียนเป็นสมการทำนายได้ดังนี้คือ X4 = 1.700 + .426 (การมีเวลาเพียงพอที่จะทำสิ่งที่ปรารถนาในชีวิต) + 1.104 (สถานภาพสมรสคู่) + .342 (มีคนสามารถพึ่งพอได้) + .399 (พอใจที่ได้ทำงานในหน่วยงานนี้ + .373 (สามารถควบคุมการใช้เวลา) - .172 (การทำงานเร่งรีบฯ) + .189 (คนในครอบครัวเตือนเรื่องสุขภาพ)5. ตัวแปรทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย ที่สามารถทำนายได้ร้อยละ 12.81 สามารถเขียนเป็นสมการทำนายได้ดังนี้ คือ X5 = .407 - .913 (เพศ) + .168 (หัวหน้างานพูดเตือนเรื่องสุขภาพ) + .304 (เคยฟังรายการเกี่ยวกับสุขภาพ) + .232 (ดื่มเบียร์ไทยเกิน 2 แก้ว) + .200 (เพื่อนบ้านเคยเตือนเรื่องสุขภาพ) + .184 (หน่วยงานมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ) + .221 (หัวหน้างานให้การยอมรับ6. ตัวแปรทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยรวม ที่สามารถทำนายได้ร้อยละ 18.30 สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ คือ X6 = 13.040 + .684 (พอใจที่ได้ทำงานในหน่วยงานนี้) + .685 (มีเวลาเพียงพอที่จะทำสิ่งปรารถนาในชีวิต) - .820 (นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง) + .696 (หน่วยงานมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ) + .756 (คนในครอบครัวรักใคร่ผูกพันกัน) + .628 (รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง) + .789 (มีคนคอยปลอบใจ) - .820 (ระดับการศึกษา) + .721 (เคยฟังรายการเกี่ยวกับสุขภาพ) - .931 (สามารถควบคุมการใช้เวลา) - .910 (เพศ) + .853 (สถานภาพสมรสคู่) และนอกจากนี้ยังพบตัวแปรจัดกลุ่ม ที่สามารถทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยรวม ที่สามารถทำนายได้ร้อยละ 10.94 สามารถเขียนเป็นสมการทำนายได้ดังนี้ คือ X1 = 10.450 + .328 (ความพึงพอใจในการทำงานและดำรงชีวิต) + .114 (การสนับสนุนทางสังคม) - .199 (ภาวะความเครียด)ดังนั้นควรมีมาตรการในการสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่งจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และจัดตรวจสุขภาพ จัดรายการเกี่ยวกับสุขภาพ และสร้างบรรยากาศในการทำงานให้เกิดความพอใจที่ได้ทำงานในหน่วยงาน ซึ่งจะช่วยให้คนงานมีการป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพดีขึ้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4012 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2542_004.pdf | 7.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น