กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3996
ชื่อเรื่อง: ฤทธิ์ต้านอักเสบในเซลล์ไมโครเกลียของส่วนสกัดเร่วหอมและสาร 4- methoxycinnamyl 4-coumarate เพื่อใช้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพสาหรับต้านกลุ่มโรคความเสื่อมของระบบประสาท
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Anti-inflammatory activity of Etlingera pavieana extract and its compound 4-methoxycinnamyl 4-coumarate on microglia cells for development as health care products against neurodegenerative diseases
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กล่าวขวัญ ศรีสุข
เอกรัฐ ศรีสุข
ณัฏฐกานติ์ จิรัณธนัฐ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: เร่วหอม
โรคความเสื่อมของระบบประสาท
การรักษาด้วยสมุนไพร
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: เร่วหอม (Etlingera paviana) เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae เป็นพืชท้องถิ่นในภาคตะวันออกของไทย มีการรายงานฤทธิ์ต้านการอักเสบของเหง้าเร่วหอมในเซลล์แมคโครฟาจ เซลล์เยื่อบุหลอดเลือด และในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่ทราบถึงผลของเร่วหอมต่อการอักเสบในเซลล์ของระบบประสาท ดังนั้นในการวิจัยนี้ทาการตรวจสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของส่วนสกัดเอทานอลจากเหง้าเร่วหอม (EPE) และสาร 4-methoxycinnamyl p-coumarate (MCC) ที่ถูกแยกจากเหง้าเร่วหอม โดยทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการผลิต ไนตริกออกไซด์ และ PGE2 ในเซลล์ไมโครเกลีย BV2 ที่ถูกกระตุ้นด้วยไลโพพอลิแซกคาร์ไรด์ (LPS) ทดสอบความเป็นพิษของส่วนสกัดจากเร่วหอม และสาร MCC โดยวิธี MTT assay ส่วนสกัดจากเร่วหอมที่ความเข้มข้น 6.25-200 g/mL และสาร MCC ที่ความเข้มข้น 6.25-50 M โไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ ทั้งในสภาวะที่มี LPS และไม่มี LPS ส่วนสกัดเร่วหอมที่ที่ความเข้มข้น 6.25-100 g/mL และสาร MCC ที่ความเข้มข้น 3.125-25 M สามารถลดการผลิตไนตริกออกไซด์และ PGE2 ได้ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้น ส่วนสกัดจากเร่วหอมยับยั้งการแสดงออกของ iNOS และ COX-2 ในระดับโปรตีนและ mRNAในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้น ในขณะที่สาร MCC ยับยั้งการแสดงออกของ iNOS ในระดับโปรตีน แต่ไม่ยับยั้ง COX-2 สาร นอกจากนี้ MCC ยังยับยั้งการกระตุ้นวิถี NF-B โดยลดการฟอสโฟรีเลชันของ IB และ NF-B p65 รวมทั้งการเคลื่อนที่เข้าสู่นิวเคลียสของ NF-B p65 ผลการทดลองของเราแสดงให้เห็นว่าส่วนสกัดจากเร่วหอม และสาร MCC มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์ไมโครเกลีย BV2 โดยอย่างน้อยผ่านการยับยั้งสารสื่อกลางการอักเสบ เอนไซม์ iNOS และ COX-2 ซึ่งเป็นผลจากการยับยั้งวิถี NF-KB ดังนั้นส่วนสกัดเอทานอลจากเหง้าเร่วหอม (EPE) และสาร MCC นี้มีศักยภาพในการนาไปพัฒนาเป็นองค์ประกอบของอาหารฟังก์ชัน หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สามารถป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ รวมทั้งภาวะความเสื่อมของสมองหรือระบบประสาท
รายละเอียด: โครงกาวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3996
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_144.pdf1.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น