กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3990
ชื่อเรื่อง: โครงการการผลิตอนุพันธ์คอลลาเจนน้ำหนักโมเลกุลต่ำจากแมงกะพรุนเพื่อใช้ประโยชน์ในเวชสำอาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Production of low molecular weight collagen derivative from jellyfish for cosmeceutical applications
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สามารถ สายอุต
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: คอลลาเจน
แมงกะพรุน
เวชสำอาง
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ศึกษาการผลิตคอลลาเจนไฮโดรไลเสตจากแมงกะพรุนที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการออกซิเดชันไขมันในระบบอิมัลชัน โดยขั้นแรกศึกษาการผลิตคอลลาเจนไฮโดรไลเสตจากแมงกะพรุนดองที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยสกัดคอลลาเจนไฮโดรไลเสตจากแมงกะพรุนดองด้วย NaHCO3 และน้ำ ในอัตราส่วน 1:2 บดแล้วสกัดด้วยกรดอะซิติกในอัตราส่วน 1:1.5 (w/v) พบว่าได้ผลผลิตที่เป็นสารละลายร้อยละ 147.41 ซึ่งมีโปรตีนเท่ากับ 17 mg/ml ทาแห้งได้ผลผลิตร้อยละ 3.63 และนำสารละลายเจลาตินมาไฮโดรไลซ์เป็นเวลา 3 ชั่วโมงโดยใช้เอนไซม์ทริปซินที่ pH 7.8 อุณหภูมิ 50 °C และเอนไซม์อัลคาเลสที่ pH 7.0 อุณหภูมิ 55 °C ใช้อัตราส่วนเอนไซม์ต่อสารตั้งต้น 1:50 และ 1:100 และนำมาวิเคราะห์กรดอะมิโนชนิด α พบว่าการผลิตคอลลาเจนไฮโดรไลเสตด้วยการใช้เอนไซม์ทริปซินที่อัตราส่วนของเอนไซม์ต่อสารตั้งต้น 1:50 มีปริมาณกรดอะมิโนชนิด α สูงที่สุด และวิเคราะห์กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS พบว่าการใช้เอนไซม์ทริปซินที่อัตราส่วนของเอนไซม์ต่อสารตั้งต้น 1:50 ยับยั้งอนุมูลอิสระ ABTS (μMole trolox equivalents/mg protein) ได้ดีที่สุด และการวิเคราะห์ร้อยละการละลายของโปรตีน และความไม่ชอบน้ำ พบว่าคอลลาเจนไฮโดร ไลเสตจากแมงกะพรุนที่ไฮโดรไลซ์ด้วยเอนไซม์อัลคาเลสและเอนไซม์ทริปซินที่อัตราส่วนของเอนไซม์ต่อสารตั้งต้น 1:50 และ 1:100 มีความสามารถในการละลายน้ำ และค่า protein hydrophobicity เท่ากัน ขั้นตอนต่อมาจึงนำคอลลาเจนไฮโดรไลเสตที่ย่อยด้วยเอนไซม์ทริปซินอัตราส่วนเอนไซม์ต่อสารตั้งต้น 1:50 ในระดับความเข้มข้น 0% 10% และ 20% มาวิเคราะห์การออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในการยับยั้งออกซิเดชันในระบบไลโบโซม โดยติดตามการออกซิเดชันของระบบไลโบโซมด้วย วิธี conjugated diene วิธี peroxide value และวิธี TBARS พบว่าการเกิดออกซิเดชันเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาในการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น การวิเคราะห์ค่าสี L*, a* และ b* พบว่าค่าสีลดลงในช่วงแรกและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระหว่างการเก็บรักษา 2 สัปดาห์ และการประยุกต์คอลลาเจนไฮโดรไลเสตน้ำหนักโมเลกุลต่ำในอิมัลชันที่ใช้ในเวชสำอางสามารถใช้ยับยั้งการออกซิเดชัน โดยคอลลาเจนไฮโดรไลเสตเข้มข้นที่ 2% มีประสิทธิภาพในการต้านออกซิเดชันมากที่สุด
รายละเอียด: งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ 2562
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3990
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_151.pdf1.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น