กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3990
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสามารถ สายอุต
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2020-12-27T02:18:57Z
dc.date.available2020-12-27T02:18:57Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3990
dc.descriptionงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ศึกษาการผลิตคอลลาเจนไฮโดรไลเสตจากแมงกะพรุนที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการออกซิเดชันไขมันในระบบอิมัลชัน โดยขั้นแรกศึกษาการผลิตคอลลาเจนไฮโดรไลเสตจากแมงกะพรุนดองที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยสกัดคอลลาเจนไฮโดรไลเสตจากแมงกะพรุนดองด้วย NaHCO3 และน้ำ ในอัตราส่วน 1:2 บดแล้วสกัดด้วยกรดอะซิติกในอัตราส่วน 1:1.5 (w/v) พบว่าได้ผลผลิตที่เป็นสารละลายร้อยละ 147.41 ซึ่งมีโปรตีนเท่ากับ 17 mg/ml ทาแห้งได้ผลผลิตร้อยละ 3.63 และนำสารละลายเจลาตินมาไฮโดรไลซ์เป็นเวลา 3 ชั่วโมงโดยใช้เอนไซม์ทริปซินที่ pH 7.8 อุณหภูมิ 50 °C และเอนไซม์อัลคาเลสที่ pH 7.0 อุณหภูมิ 55 °C ใช้อัตราส่วนเอนไซม์ต่อสารตั้งต้น 1:50 และ 1:100 และนำมาวิเคราะห์กรดอะมิโนชนิด α พบว่าการผลิตคอลลาเจนไฮโดรไลเสตด้วยการใช้เอนไซม์ทริปซินที่อัตราส่วนของเอนไซม์ต่อสารตั้งต้น 1:50 มีปริมาณกรดอะมิโนชนิด α สูงที่สุด และวิเคราะห์กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS พบว่าการใช้เอนไซม์ทริปซินที่อัตราส่วนของเอนไซม์ต่อสารตั้งต้น 1:50 ยับยั้งอนุมูลอิสระ ABTS (μMole trolox equivalents/mg protein) ได้ดีที่สุด และการวิเคราะห์ร้อยละการละลายของโปรตีน และความไม่ชอบน้ำ พบว่าคอลลาเจนไฮโดร ไลเสตจากแมงกะพรุนที่ไฮโดรไลซ์ด้วยเอนไซม์อัลคาเลสและเอนไซม์ทริปซินที่อัตราส่วนของเอนไซม์ต่อสารตั้งต้น 1:50 และ 1:100 มีความสามารถในการละลายน้ำ และค่า protein hydrophobicity เท่ากัน ขั้นตอนต่อมาจึงนำคอลลาเจนไฮโดรไลเสตที่ย่อยด้วยเอนไซม์ทริปซินอัตราส่วนเอนไซม์ต่อสารตั้งต้น 1:50 ในระดับความเข้มข้น 0% 10% และ 20% มาวิเคราะห์การออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในการยับยั้งออกซิเดชันในระบบไลโบโซม โดยติดตามการออกซิเดชันของระบบไลโบโซมด้วย วิธี conjugated diene วิธี peroxide value และวิธี TBARS พบว่าการเกิดออกซิเดชันเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาในการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น การวิเคราะห์ค่าสี L*, a* และ b* พบว่าค่าสีลดลงในช่วงแรกและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระหว่างการเก็บรักษา 2 สัปดาห์ และการประยุกต์คอลลาเจนไฮโดรไลเสตน้ำหนักโมเลกุลต่ำในอิมัลชันที่ใช้ในเวชสำอางสามารถใช้ยับยั้งการออกซิเดชัน โดยคอลลาเจนไฮโดรไลเสตเข้มข้นที่ 2% มีประสิทธิภาพในการต้านออกซิเดชันมากที่สุดth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectคอลลาเจนth_TH
dc.subjectแมงกะพรุนth_TH
dc.subjectเวชสำอางth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleโครงการการผลิตอนุพันธ์คอลลาเจนน้ำหนักโมเลกุลต่ำจากแมงกะพรุนเพื่อใช้ประโยชน์ในเวชสำอางth_TH
dc.title.alternativeProduction of low molecular weight collagen derivative from jellyfish for cosmeceutical applicationsen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsamarts@buu.ac.thth_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativeThis research investigated the production of collagen hydrolysate from jellyfish that inhibits the oxidation of fat in the emulsion system. To production of collagen from jellyfish, dried jellyfish was extracted with NaHCO3 and water with the ratio of 1:2 and acetic acid at a ratio of 1:1.5 (w/v). The result showed that collagen yield was 147.41 % with 17 mg/ml protein. The dried collagen yield was 3.63 %. To produce collagen hydrolysate, the sample was hydrolyzed with trypsin or alkalase (1:50 and 1:100 E/S) for 3 hr. at pH of 7.8 and 7.0, and temperature of 50 and 55°C, respectively. Collagen hydrolysate hydrolyzed by trypsin showed the highest α amino acid content and antioxidant activity. Collagen hydrolysate produced by trypsin and alkalase had no significantly different in hydrophobicity and protein solubility. Therefore, trypsin hydrolyzed collagen hydrolysate was chosen for further study. The collagen hydrolysate produced by trypsin was added in salad dressing at the concentration of 0 %, 10 % and 20 %, respectively. Lipid oxidation in salad dressing was determined by CD, PV and TBARS assays. The result showed that oxidation increased when storage time increased. Although L *, a * and b * values decreased with increasing duration of storage, after 2 weeks the color values tend to increase. Application of low molecular weight collagen hydrolyzate in emulsions used in cosmeceuticals can be used to inhibit oxidation. The 2% concentration of collagen hydrolyzate was the most effective against oxidation.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_151.pdf1.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น