กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3981
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วารี กังใจ | |
dc.contributor.author | รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์ | |
dc.contributor.author | ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์ | |
dc.contributor.author | สิริวรรณ นิลมาร | |
dc.contributor.author | ภานุวัฒน์ ด่านกลาง | |
dc.contributor.author | อรวรรณ ปรางประสิทธิ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-11-09T07:13:42Z | |
dc.date.available | 2020-11-09T07:13:42Z | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3981 | |
dc.description | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและเทคโนโลยี เพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ดำเนินการวิจัยในชุมชนคัดสรรแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ แกนนาชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชนและประชาชน รวมทั้งสิ้น 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 7 ชุด ที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพ โดยการตรวจความตรงตามเนื้อหา และหาค่าความเชื่อมั่นซึ่งพบว่าเครื่องมือวิจัยทั้ง 7 ชุดนี้มีคุณภาพในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ 1) การคัดกรองและประเมินภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ โดยบุคลากรด้านสุขภาพ 2) การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมให้กับผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ประชาชน แกนนำ อาสาสมัครสาธารณสุข และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 3) การส่งเสริมทักษะเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมให้กับผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม 4) วิธีการดูแล ประกอบด้วย 1. การส่งเสริมการรู้คิด เพื่อให้ผู้ป่วยรับรู้ วัน เวลา สถานที่ 2. การดูแลที่เน้นด้านอารมณ์ 3. การดูแลที่เน้นพฤติกรรม 5) ระบบสนับสนุนช่วยเหลือจากบุคลากรด้านสุขภาพ 6) ระบบสนับสนุนจากชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง และ 7) ระบบอุปกรณ์ช่วยเหลือ 2. เทคโนโลยีเพื่อการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมจากการวิจัยครั้งนี้ คือ ระบบติดตามผู้สูงอายุภายในบ้านพักอาศัยแบบไร้สาย จากผลการวิจัยเสนอแนะว่า ชุมชนหรือเทศบาลควรมีการนำรูปแบบและเทคโนโลยีเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ที่ได้จากการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาระบบการดูแลสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในชุมชน และควรมีการนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ๆ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- ภาวะสมองเสื่อม | th_TH |
dc.subject | ภาวะสมองเสื่อม | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | การพัฒนารูปแบบและเทคโนโลยีเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน | th_TH |
dc.title.alternative | Development of Caring Model and Technology for Older Adults with Dementia in Community Through Family and Community Participation | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | wareek@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | ratchana@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | pornpath@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | panuwat@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2557 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research employed the research and development design which aimed to develop a suitable model of care and assistive technology for older adults with dementia living in community through family and community participation. It was conducted in a selected community in Chon Buri province. Samples were 100 of older adults, caregivers of older adults, community leaders / community public health volunteers, staff in community relevant organization and residents. Data were collected by 7 instruments, consisting of interviews and questionnaires which were developed by the researcher. All instruments were assessed for reliability and validity. Adequate levels of reliability and validity were found for all instruments. Descriptive statistics were applied for data analyses. The main findings were: 1.The model and technology for caring older adults with dementia living in community through family and community participation was consisted of 7 components: 1) screening and assessment of older adults with dementia by health care providers, 2) providing knowledge promotion on caring for older adults, caregivers, community leaders/ public health volunteers in community, staff in community relevant organization and residents, 3) providing skill promotion on caring for older adults with dementia, 4) caring methods were consisted of 1. promoting of the perception and thoughts to make older adults with dementia perceive date time and place 2. providing emotion focused care 3. providing behavior focused care, 4. supporting system from health care providers 5) the support system from health care providers 6) the support system from community and community relevant organization, and 7) the system of assisted appliances 2. Assisting technology for older adults with dementia living in community in this research was the wireless GPS for older adults with dementia in their homes. The findings suggested the community and the municipality should apply the model of care and assisting technology for older adults with dementia living in community from this research to improve the care system for older adults with dementia living in community. The model of care and assisting technology also should be applied in other communities. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_129.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น