กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3928
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุปราณี แก้วภิรมย์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2020-07-13T06:23:13Z
dc.date.available2020-07-13T06:23:13Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3928
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้รายงานการศึกษาการผลิตฟิล์มชีวภาพที่มีคาร์บอกซี่เมทิลเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ ในระดับอุตสาหกรรม ด้วยเทคนิคการขึ้นรูปแบบเป่าฟิล์ม เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปของบรรจุภัณฑ์ โดยในการผลิตแบ่งเป็นสองขั้นตอน คือ 1) การผลิตเม็ดไบโอพลาสติกคอมพาวด์โดยใช้เครื่องผสมอัดรีดแบบเกลียวหนอนคู่ (Twin-screw extruder) และ 2) การเป่าฟิล์มจากเม็ดไบโอพลาสติกคอมพาวด์หลอมด้วยกระบวนการอัดรีดแบบเป่าฟิล์ม (Blown film extrusion) ผลจากการศึกษาพบว่า การผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพที่มีคาร์บอกซี่เมทิล-เซลลูโลสเป็นองค์ประกอบสามารถทำได้โดยใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ด้วยวิธีทางชีวภาพชนิดอื่น ได้แก่ พอลิบิวทิ-ลีนอะดิเพทเทเรฟทาเลต (Polybutylene adipate terephthalate, PBAT (Ecoflex®)) หรือ พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่า (Low-density polyethylene, LLDPE) เป็นวัสดุหลัก และมีองค์ประกอบของคาร์บอกซี่เมทิล-เซลลูโลสไม่เกินร้อยละ 30 อุณหภูมิที่ใช้ในการคอมพาวด์เม็ดพลาสติกฐานชีวภาพมีค่าไม่เกิน 170 ℃ และ อุณหภูมิที่ใช้ในการเป่าฟิล์มไม่เกิน 180 ℃ ฟิล์มพลาสติกชีวภาพที่ได้มีความหนาอยู่ระหว่าง 0.020–0.280 มม. ขึ้นกับองค์ประกอบ และการเกิดเจลของคาร์บอกซี่เมทิลเซลลูโลสในระหว่างการคอมพาวด์ เม็ดคอมพาวด์พลาสติกฐานชีวภาพคาร์บอกซี่เมทิลเซลลูโลสเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช กับ Ecoflex® และ LLDPE ซึ่งมีคาร์บอก-ซี่เมทิลเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก มีค่า Blow up ratio อยู่ในช่วง 2.2–3.4 ซึ่งเป็นค่าปกติของการเป่าฟิล์มในอุตสาหกรรมการผลิตถุงพลาสติก โดยค่าความหนาของฟิล์มจะแปรผกผันกับค่า Blow-up ratio สำหรับเม็ดคอมพาวด์พลาสติกฐานชีวภาพเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชกับ LLDPE ที่มีคาร์บอกซี่เมทิลเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบในปริมาณต่า มีค่า Blow-up ratio ใกล้เคียงกัน และอยู่ในช่วง 3.0–3.2 นอกจากนี้ความหนาของฟิล์มทุกสูตรยังมีค่าใกล้เคียงกัน และค่อนข้างสม่าเสมอ อยู่ในช่วง 20–27 ไมครอน ซึ่งใกล้เคียงกับฟิล์มพอลิเอ-ทิลีนชนิดความหนาแน่นต่า ฟิล์มทุกสูตรที่ได้มีลักษณะทางกายภาพที่ใกล้เคียงกัน มีความสามารถในการส่องผ่านแสงได้ค่อนข้างดี มีเนื้อสัมผัสเนียน ลื่น เกิดเจลน้อย มีความหนาพอเหมาะในการใช้งานด้านฟิล์ม ผลการตรวจสอบสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกลของฟิล์ม พบว่า สำหรับฟิล์มพลาสติกฐานชีวภาพคาร์บอกซี่เมทิลเซลลูโลสเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช กับ Ecoflex® และ LLDPE ซึ่งมีคาร์บอกซี่เมทิลเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก ฟิล์มที่มีส่วนประกอบหลักของพอลิเมอร์ต่างกันมีสมบัติเชิงกลที่แตกต่างกันอย่างมาก ฟิล์มที่มีส่วนประกอบหลักเป็น LLDPE แสดงค่ามอดุลัสของยังสูงกว่าฟิล์มที่มีส่วนประกอบหลักเป็น Ecoflex® (20 MPa และ 7.9 MPa) แต่ให้ค่าระยะยืดต่ำกว่า (29% และ 63%) ฟิล์มที่เติมกลีเซอรอลปริมาณมากมีค่าร้อยละการยืด ณ จุดขาด ความแข็งแรงดึง และมอดูลัสของยัง สูงกว่าฟิล์มที่เติมกลีเซอรอลปริมาณน้อย ฟิล์มที่มีอัตราส่วนระหว่างการผสมคาร์บอกซี่เมทิลเซลลูโลสกับน้ำน้อยกว่า มีค่าร้อยละการยืด ณ จุดขาด ความแข็งแรงดึง และมอดูลัสของยัง สูงกว่าฟิล์มที่มีอัตราส่วนระหว่างการผสมคาร์บอกซี่เมทิลเซลลูโลสกับน้ามากกว่า สาหรับฟิล์มพลาสติกฐานชีวภาพเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชกับ LLDPE ที่มีคาร์บอกซี่เมทิลเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบในปริมาณต่ำ แสดงค่าความทนต่อแรงกระแทก มอดูลัสของยัง ความแข็งแรงดึง และร้อยละการยืด ณ จุดขาดของฟิล์มลดลง เมื่อฟิล์มมีปริมาณคาร์บอกซี่เมทิลเซลลูโลสเพิ่มขึ้น งานวิจัยนี้ได้ผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบถุงหูหิ้วจากฟิล์มที่มีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน มีความหนา ผิวสัมผัส และสีที่แตกต่างกัน แต่สามารถนำมาใช้งานจริงได้ จากการสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภค พบว่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบถุงหูหิ้วที่ได้รับการประเมินว่าผู้ประเมินมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ถุงหูหิ้วจากฟิล์ม PBAT-CMC,Starch-Plas เนื่องจากมีส่วนผสมที่สามารถย่อยสลายได้ถึงร้อยละ 100 รองลงมาคือ LLDPE-CMC1%-TPS และ ฟิล์ม LLDPE-CMC2%-TPS เนื่องจากมีเนื้อสัมผัสที่เรียบเนียน มีความแข็งแรงและยืดหยุ่น รวมถึงมีส่วนประกอบที่สามารถย่อยสลายได้มากถึงร้อยละ 30 สุดท้ายโครงการวิจัยนี้ยังได้จัดอบรม/ สัมมนา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง ไบโอพลาสติก....จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ 85 มีความรู้เกี่ยวกับไบโอ-พลาสติกมากขึ้น ผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ 65 จะนำความรู้และประสบการณ์จากเข้าร่วมโครงการไปใช้ประโยชน์ได้จริง และผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ 85 คิดว่าการอบรมส่งเสริมการนำไปปฏิบัติได้จริงth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินทุนอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectฟิล์มชีวภาพth_TH
dc.subjectบรรจุภัณฑ์th_TH
dc.subjectสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัยth_TH
dc.titleการขึ้นรูปฟิล์มชีวภาพที่มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรมเพื่อใช้งานด้านบรรจุภัณฑ์อาหารth_TH
dc.title.alternativeIndustrial-scale processing of antimicrobial biofilm for food packaging applicationsth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailkaewpiro@go.buu.ac.thth_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativeThis research study reports the industrial-scale processing of caboxymethylcellulose-based biodegradable films by blown-film extrusion technique for potential application as food packages. The process was divided into two steps: 1) processing of biodegradable plastic compound using twin-screw extrusion and 2) processing of biodegradable film from molten biodegradable plastic compound using blown-film extrusion. It was found that biodegradable plastic compounds with various formulations were successfully processed by mixing caboxymethylcellulose (not greater than 30 %w/w) with other biodegradable polymer such as polybutylene adipate terephthalate, PBAT (Ecoflex®) or Low-density polyethylene, LLDPE as a main component. The mixing temperature and film-blowing temperature were not exceed 170℃ and 180℃, respectively. The resulting caboxymethylcellulose-based biodegradable film products showed the thickness in the range 0.020–0.028 mm, depending upon their composition and the gel formation during processing. The biodegradable plastic compounds based on Ecoflex® or LLDPE with high content of caboxymethylcellulose exhibited the blown-up ratio in the range 2.2–3.4 that is the normal range for industrial-scale blown-film extrusion. It was also found that the film thickness was inversely proportional to its blown-up ratio. Besides, the biodegradable plastic compounds based on LLDPE with low content of caboxymethylcellulose displayed the blown-up ratio in the range 3.0–3.2. Moreover, all film formulations showed comparable thickness of 0.020–0.027 mm that is similar to that of commodity LLDPE film. In addition, all the films with various formulations showed similar physical features e.g. translucence and smooth surface, low gel fraction and suitable thickness for film application. The results from physical and mechanical property tests for the biodegradable films based on Ecoflex® or LLDPE with high content of caboxymethylcellulose revealed that LLDPE-based film showed higher Yong’s modulus (20 MPa versus 7.9 MPa) , but lower elongation at break (29% versus 63%) than those of Ecoflex®-based film. The films with high glycerol content possessed high elongation at break, tensile strength and tensile modulus. Likewise, the films with low carboxymethylcellulose-to-water ratio exhibited high elongation at break, tensile strength and tensile modulus. The biodegradable films based on LLDPE with low content of caboxymethylcellulose demonstrated the reduction in impact strength, Young’s modulus, tensile strength and elongation at break when the caboxymethylcellulose content was decreased. In this study, several prototypes of grocery bags were produced from the blown-film products with different compositions. Although the bags showed alteration in thickness, degree of surface smoothness, physical and mechanical properties as well as color, all the films can be used efficiently as grocery bags. The results obtained from customer survey revealed that the most customer’s satisfactory bag is PBAT-CMC,Starch-Plas. This was due to its 100% biodegradable composition. The second most customer’s satisfactory bags are LLDPE-CMC1%-TPS and LLDPE-CMC2%-TPS. This was because of their surface smoothness, strength and flexibility as well as their biodegradable composition of 30%. Lastly, the seminar entitled “Bioplastics….from upstream to downstream” was organized. The seminar survey results disclosed that more than 85% of the participants have better knowledge about bioplastics, more than 65% of the participants can apply the knowledge in their real lives and more than 85% of the participants recommend that the knowledge obtained from the seminar can be put into practice.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_072.pdf14.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น