กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3851
ชื่อเรื่อง: ผลของการให้พืชวงศ์ถั่วต่อสมรรถนะการผลิตของแพะเนื้อ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of feeding Leguminosae on productive performance in meat goat
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุปรีณา ศรีใสคำ
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คำสำคัญ: อาหารสัตว์
ถั่ว
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกชนิดถั่วอาหารสัตว์ที่สามารถปรับตัวให้ผลผลิตได้ดีในจังหวัดสระแก้ว ที่มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ระหว่างเดือน ตุลาคม 2561 ถึง กรกฎาคม 2562 เพื่อใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ทางเลือกแก่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ จัดการทดลองแบบแฟกทอเรียลในแผนการทดลองแบบสุ่มในบลอคสมบูรณ์ ปัจจัยถั่วอาหารสัตว์ 3 ชนิดประกอบด้วย ถั่วอัลฟัลฟ่า (Medicago sativa) ถั่วฮามาต้า (Stylosanthes hamata cv. Verano) และถั่วท่าพระสไตโล (Stylosanthes guianensis cv. Tha pra stylo) และปัจจัยอายุการตัด 4 ระยะคือ 30 45 60 และ 75 วัน ผลการทดลอง พบว่า ถั่วท่าพระสไตโลให้ค่าเฉลี่ยความสูง ผลผลิตน้ำหนักรวมต่อพื้นที่ น้ำหนักสดต่อต้น และน้ำหนักแห้งต่อต้น มากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) อายุการตัด 60 วันมีค่าผลผลิตมากที่สุดเท่ากับ 5,497 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับการตัดที่อายุ 30, 45 และ 75 วัน อายุการตัดที่ 75 วัน ให้ค่าเฉลี่ยความสูง น้ำหนักสดต่อต้น และน้ำหนักแห้งต่อต้น มากที่สุดในถั่วอาหารสัตว์ทุกชนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ปัจจัยชนิดของถั่วอาหารสัตว์และปัจจัยอายุการตัดที่มีความแตกต่างกันส่งผลให้มีค่าองค์ประกอบทางเคมีในทุกลักษณะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ยกเว้นค่าวัตถุแห้ง (DM) ที่มีความแตกต่างกันจากปัจจัยอายุการตัดเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนิดถั่วอาหารสัตว์และอายุการตัดในทุกลักษณะขององค์ประกอบทางเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) แสดงให้เห็นว่า ถั่วอาหารสัตว์แต่ละชนิดมีการตอบสนองต่ออายุการตัดที่เพิ่มขึ้นไม่เท่ากัน โดยองค์ประกอบทางเคมีที่มีค่าลดลงเมื่ออายุการตัดเพิ่มขึ้น คือ ปริมาณโปรตีน (CP) เถ้า (Ash) วัตถุแห้ง (DM) และแทนนิน (Tannin) ในขณะที่องค์ประกอบทางเคมีอื่น ๆ มีค่าเพิ่มขึ้นตามอายุการตัดที่เพิ่มขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3851
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_322.pdf3.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น