กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3851
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุปรีณา ศรีใสคำ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
dc.date.accessioned2020-04-06T04:42:20Z
dc.date.available2020-04-06T04:42:20Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3851
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกชนิดถั่วอาหารสัตว์ที่สามารถปรับตัวให้ผลผลิตได้ดีในจังหวัดสระแก้ว ที่มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ระหว่างเดือน ตุลาคม 2561 ถึง กรกฎาคม 2562 เพื่อใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ทางเลือกแก่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ จัดการทดลองแบบแฟกทอเรียลในแผนการทดลองแบบสุ่มในบลอคสมบูรณ์ ปัจจัยถั่วอาหารสัตว์ 3 ชนิดประกอบด้วย ถั่วอัลฟัลฟ่า (Medicago sativa) ถั่วฮามาต้า (Stylosanthes hamata cv. Verano) และถั่วท่าพระสไตโล (Stylosanthes guianensis cv. Tha pra stylo) และปัจจัยอายุการตัด 4 ระยะคือ 30 45 60 และ 75 วัน ผลการทดลอง พบว่า ถั่วท่าพระสไตโลให้ค่าเฉลี่ยความสูง ผลผลิตน้ำหนักรวมต่อพื้นที่ น้ำหนักสดต่อต้น และน้ำหนักแห้งต่อต้น มากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) อายุการตัด 60 วันมีค่าผลผลิตมากที่สุดเท่ากับ 5,497 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับการตัดที่อายุ 30, 45 และ 75 วัน อายุการตัดที่ 75 วัน ให้ค่าเฉลี่ยความสูง น้ำหนักสดต่อต้น และน้ำหนักแห้งต่อต้น มากที่สุดในถั่วอาหารสัตว์ทุกชนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ปัจจัยชนิดของถั่วอาหารสัตว์และปัจจัยอายุการตัดที่มีความแตกต่างกันส่งผลให้มีค่าองค์ประกอบทางเคมีในทุกลักษณะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ยกเว้นค่าวัตถุแห้ง (DM) ที่มีความแตกต่างกันจากปัจจัยอายุการตัดเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนิดถั่วอาหารสัตว์และอายุการตัดในทุกลักษณะขององค์ประกอบทางเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) แสดงให้เห็นว่า ถั่วอาหารสัตว์แต่ละชนิดมีการตอบสนองต่ออายุการตัดที่เพิ่มขึ้นไม่เท่ากัน โดยองค์ประกอบทางเคมีที่มีค่าลดลงเมื่ออายุการตัดเพิ่มขึ้น คือ ปริมาณโปรตีน (CP) เถ้า (Ash) วัตถุแห้ง (DM) และแทนนิน (Tannin) ในขณะที่องค์ประกอบทางเคมีอื่น ๆ มีค่าเพิ่มขึ้นตามอายุการตัดที่เพิ่มขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้วth_TH
dc.subjectอาหารสัตว์th_TH
dc.subjectถั่วth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleผลของการให้พืชวงศ์ถั่วต่อสมรรถนะการผลิตของแพะเนื้อth_TH
dc.title.alternativeEffects of feeding Leguminosae on productive performance in meat goaten
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsupreena.sr@buu.ac.thth_TH
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to select the types of legume forage that can be adapted to produce well in Sakaeo province for use as an alternative forage for goat farmers. The experiment was conducted in factorial in randomize complete block design at Burapha University Sakaeo Campus, Watthana Nakhon District, Sakaeo Province during October 2018 to July 2019. Types of legume forages were Alfalfa, Hamata and Tha pra stylo and the 4 cutting ages were 30, 45, 60 and 75 days. The results showed that the average height, total weight per area, the fresh weight per plant and the dry weight per plant of Tha pra stylo were significantly highest (p <0.001). The cutting age at 60 days gave highest the total weight per area (5,497 kg/rai) but there was no statistical difference when compared with cutting age at 30, 45 and 75 days. The cutting age at 75 days gave highest the average height, fresh weight per plant and dry weight per plant in all legume forage types with statistical significance (p <0.001). The different types of legume forage and cutting age factors resulted in different chemical composition (p<0.001) except for dry matter (DM) which there is only a difference from the cutting factor. In addition, it was found that there was a significant interaction between type of legume forage and cutting age in all aspects of the chemical composition (p <0.01). Each type of legume forage has an unequal response to increasing cutting age. The chemical composition that decreased with increasing cutting age were protein content (CP), ash, dry matter (DM) and tannin, while other chemical composition increased with increasing cutting ageen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_322.pdf3.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น