กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/381
ชื่อเรื่อง: | การประยุกต์ใช้สมุนไพรในภาคตะวันออกเพื่อการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกันแบบแช่แข็ง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Application of herb in estern part of Thailand for long-term cryopreservative of African catfish (clarias garieqinus) milt |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ กาญจนา หริ่มเพ็ง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | น้ำเชื้อแช่แข็ง ปลาดุกอัฟริกัน - - การขยายพันธุ์ ปลาดุกอัฟริกัน - - น้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษา สารสกัดจากพืช - - การใช้ประโยชน์ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ในการศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาฤทธ์ของสารสกัด พริก ขิง กระเทียมและขมิ้นด้วยสารละลายจำนวน 3 ชนิดคือ น้ำ เมทานอลและไดคลอโรมีเทนในการต้านแบคทีเรียชนิด Bacillus subtilis, Aeromonas aslmonicida, P. fluorescens และ Staphylococcus sciuri ที่แยกจากลำไส้ผิวหนัง เนื้อปลา และน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกัน เมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธี disc diffusion พบว่าสกัด 4ชนิดที่สกัดด้วยเมทานอลยกเว้นกระเทียมสามารถยับยั้งเชื้อ P.fluorescens ได้ ดังนั้นจึงนำสารากัดด้วยเมทานอลทั้ง 4 ชนิด 3 ความเข้มข้น คือ 0.25, 0.5 และ 2.5 mg/ml มาทำการทดลองทดสอบการแช่แข็งน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกากันโดยเปรียบเทียบกับชุดความคุมที่ไม่มีการเติมและมีการเติมยาปฏิชีวนะชนิด penicillin – streptomycin 1 % พบว่าชุดการทดลองที่เติมยาปฏิชีวนะและชุดที่เติมสารสกัดขิงพบการเคลื่อนที่ของน้ำเชื้อของปลาดุกอัฟริกาได้สูงสุด คือ 37.78 ± 2.22 % และสามารถกำจัดแบคทีเรียกลุ่ม total he5terotroph ได้ทั้งหมดภายในการแช่แข็ง 90 วัน จากการทดลองในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าสารสกัดขิงด้วยเมทานอลความเข้มข้นที่ 2.5 mg/ml มีประสิทธิภาพในการทดแมนยาปฏิชีวนะเพื่อการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกันด้วยวิธีแช่แข็ง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/381 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น