กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3780
ชื่อเรื่อง: การสะสมโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมทางน้ำและผลกระทบต่อโลมาอิรวดี บริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Accumulation of Heavy Metals in Aquatic Environment and Impacts on Irrawady Dolphins in Trat bay, Trat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา
เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์
ชลาทิพ จันทร์ชมภู
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: โลหะหนัก
มลพิษทางน้ำ
นิเวศวิทยาทะเล
โลมาอิรวดี
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การสะสมโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมทางน้ำและผลกระทบต่อโลมาอิรวดี บริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด มีเป้าหมายเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมต่อโลมาอิรวดี ในบริเวณพื้นที่อ่าวตราด โดยการศึกษาแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ช่วงเวลาซึ่งเป็นตัวแทนของฤดูกาลได้แก่ เดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม และสิงหาคม 2561 ทั้งนี้ทำการศึกษาโลหะหนักประกอบด้วยทองแดง ตะกั่ว และแคดเมียม ที่สะสมในน้ำ ดินตะกอน ปลา และโลมาอิรวดีที่เกยตื้นบริเวณอ่าวตราด โดยทำการเก็บตัวอย่างครอบคลุมพื้นที่อ่าวตราดทั้งสิ้น 9 สถานี ผลการศึกษาพบว่า การปนเปื้อนของโลหะหนัก ตะกั่ว แคดเมียม และทองแดง พบโลหะหนักในน้ำและดินตะกอนมีความสัมพันธ์กับฤดูกาล (p<0.05) ซึ่งฤดูฝนจะพบโละหนักในน้ำมากกว่าฤดูแล้ง ส่วนช่วงฤดูแล้งจะพบโลหะหนักในดินตะกอนมากกว่าฤดูฝน โดยโลหะหนักที่พบในน้ำและดินตะกอนมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำและดินตะกอนที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด ส่วนการสะสมในสัตว์น้ำที่เป็นอาหารของโลมาพบว่า ปลาที่หากินบริเวณผิวหน้าดิน (demersal fish) จะมีการสะสมโลหะหนักมากกว่ากลุ่มปลากลางน้ำ (pelagic fish) ซึ่งค่าที่พบในปลาทั้ง 2 กลุ่มยังคงมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม โลหะหนักในกลุ่มของตะกั่วและแคดเมียม มีแนวโน้มสะสมในเนื้อปลาค่อนข้างสูง จึงควรมีการเฝ้าระวังในปลากลุ่มดังกล่าว สำหรับการสะสมโละหนักในโลมาพบว่า โลมาที่เข้ามาเกยตื้นบริเวณอ่าวตราดช่วงที่ทำการศึกษามีการสะสมของ ตะกั่ว แคดเมียม และทองแดง ต่ำกว่าการศึกษาอื่น ๆ ที่ผ่านมา ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมบริเวณอ่าวตราดมีการปนเปื้อนของมลพิษในกลุ่มของโลหะหนักในระดับต่ำดังที่กล่าวมาแล้ว อีกทั้งบริเวณนี้ ยังคงไม่มีแหล่งกำเนิดด้านโลหะหนักที่ชัดเจน ดังนั้นควรมีการพิจารณาพื้นที่อ่าวตราดเป็นพื้ที่ที่เหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับการอยู่อาศัยของสัตว์ในกลุ่มเลี้ยงลูกด้วยนม (โลมา) และมีมาตรการในการคุ้มครองพื้นที่ในอนาคตต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3780
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_271.pdf3.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น