กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3709
ชื่อเรื่อง: โครงการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากผักพื้นบ้านไทยต่อการยับยั้ง กิจกรรมของเอนไซม์ไลเปส แอลฟาอะไมเลส โปรตีเอส และแอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส เพื่อใช้เป็นอาหารสุขภาพในการควบคุมน้ำหนัก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Inhibitory effect of Thai vegetable extracts on activities of lipase, alpha-amylase, protease and alcoholdehydrogenase
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สลิล ชั้นโรจน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ผักพื้นบ้าน
อาหารสุขภาพ
เอนไซม์
สารต้านจุลินทรีย์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในปัจจุบันโรคอ้วนจัดเป็นปัญหาหลักทางสุขภาพทั่วโลกเนื่องจากภาวะโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยแนวทางในการป้องกันและแก้ ภาวะโรคอ้วนที่เป็นที่นิยมคือการรับประทานยาลดน้ำหนักเนื่องจากใช้เวลาน้อยแต่ได้ประสิทธิภาพสูงกว่าเมื่อ เทียบกับวิธีการอื่น อย่างไรก็ตามการรับประทานยาลดน้ำหนักไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุดในการรักษาโรคอ้วนเพราะ ยาอาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนั้นแนวทางหนึ่งในการควบคุมน้ำหนักคือการลดการย่อยแป้งและไขมันอันเนื่องมาจากกิจกรรมของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสและไลเปส ดังนั้นงานวิจัยนี จึงมุ่งศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากผักพืนบ้านจำนวน 30 ชนิดต่อการยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ในระบบย่อยอาหารที่ได้มาจากตับอ่อน ได้แก่ ไลเปส แอลฟาอะไมเลส และทริปซินในหลอดทดลอง และเอนไซม์ในกระบวนการเผาผลาญ แอลกอฮอล์ ได้แก่ แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส โดยนำผักพื้นบ้านที่เก็บเกี่ยวในสามฤดูที่แตกต่างกัน ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว มาสกัดด้วยตัวทำละลายที่ต่างกัน 3 ชนิด ได้แก่ นำ เอทานอล และเฮกเซน ที่ อุณหภูมิ 37 หรือ 90 องศาเซลเซียส จากนั้นสารสกัดหยาบที่ได้ถูกนำไปทดสอบฤทธิ์ยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์โดย ใช้ Orlistat® (ยารักษาโรคอ้วน) Acarbose® (ยารักษาโรคเบาหวาน) phenylmethylsulfonyl fluoride (สารยับยั้งโปรตีเอส) และ nicotinic acid (วิตามินบี 3) เป็นชุดควบคุม และนำสารสกัดหยาบจากผักพื้บ้าน 9 ชนิด มาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเจริบเติบของจุลินทรีย์ Escherichia coli โดยใช้ ampicillin (ยาปฏิชีวนะ) และ gallic acid (สารประกอบฟีนอล) เป็นชุดควบคุม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารสกัดหยาบจาก ชะอม ขึ้นฉ่าย มะกรูด กะเพรา เตยหอม และย่านาง มีฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ไลเปสได้ดี โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ครึ่งหนึ่ง (IC50) น้อยกว่า 300 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และสารสกัดหยาบจากชะอม กุ้ยฉ่าย ตำลึง กระถิน สะระแหน่ เตยหอม ย่านาง และขิง มีฤทธิ์ในการยับยั งกิจกรรมเอนไซม์แอลฟาอะ ไมเลสได้ดี ในขณะที่สารสกัดหยาบจาก กระเทียม ข่า สะระแหน่ ชะพลู และมะเขือพวง มีฤทธิ์ในการยับยั ง กิจกรรมเอนไซม์ทริปซินได้ดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผักพื้นบ้านกลุ่มนี้ อาจไม่เหมาะสมในการรับประทานเพื่อควบคุม น้ำหนักเนื่องจากการรบกวนการย่อยโปรตีน นอกจากนี ยังพบว่าสารสกัดหยาบจากข่า ขึ้นฉ่าย และขิง มีฤทธิ์ใน การยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนสได้ดี ซึ่งอาจส่งผลรบกวนกระบวนการเมแทบอลิซึมอื่นของ ร่างกายได้ถ้ารับประทานผักพื้นบ้านกลุ่มนี้เข้าไปในปริมาณมาก และสารสกัดหยาบจากข่า ย่านาง และชะพลู มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของ E. coli ได้ดี ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการเป็นสารต้านจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นผักพื้นบ้านที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อใช้ควบคุมน้ำหนัก ได้แก่ ชะอม เตยหอม และย่านาง เนื่องจากสารออกฤทธิ์ในผักพื้นบ้านดังกล่าวมีฤทธิ์ จำเพาะในการยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ไลเปสและแอลฟาอะไมเลสซึ่งเป็นเอนไซม์เป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ โดยเฉพาะย่านางนั้นมีสารออกฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์นอกเหนือจากฤทธิ์ยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ ที่จำเพาะข้างต้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3709
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_201.pdf1.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น